หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
วังน้อย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  คุณคือผู้เข้าชมลำดับที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๔๗๖๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๓๑๓๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
 
 
 
Untitled Document
มรดกทางวัฒนธรรม
 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ หน้า ๕๙ - ๖๐




มาชุมทาร์ (R.C. Majumdar) กล่าวถึงระบบการศึกษาของอินเดีย โบราณ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตักศิลา แคว้นคันธาระ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศปากีสถาน) ว่า มีสำนักศึกษาอิสระของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ต่างๆ เปิดสอนวิชาการสาขาต่างๆ ตามที่ตนถนัด เช่น วิชาวรรณคดี ทั้งทางศาสนาและทางโลก ไวยากรณ์ บทกวี ศิลปะ ตรรกศาสตร์ ปรัชญา โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ แพทยศาสตร์ พิชัยสงคราม คณิตศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ตามที่ตนต้องการ แต่ต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงเพราะต้องกินอยู่กับสำนักศึกษานั้นๆ ส่วนผู้ศึกษาที่ยากจนก็สามารถเรียนได้โดยยอมทำงานรับใช้อาจารย์แทนค่าเล่าเรียน เช่น หมอชีวก โกมารภัจที่เลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์จนสำเร็จมาแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบสอนกันตัวต่อตัว หรือ ถ้ามีนักศึกษาหลายคน(บางสำนักมี ถึง ๑๐๐ คน) ก็จะนั่งเรียนล้อมอาจารย์ ในการสอนนั้น นอกจากมุ่งสอนรายวิชาที่ นักศึกษาเลือกแล้ว อาจารย์ยังให้การ อบรมบ่มนิสัยทางด้านหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และพิธีกรรมต่างๆ
มาชุมทาร์ กล่าวต่อไปว่า มหาวิทยาลัยตักศิลาเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจนกระทั่งเกิดมหาวิทยาลัยนาลันทาขึ้น จึง ค่อยๆ เสื่อมไป และกล่าวถึงมหาวิทยาลัยนาลันทาไว้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นยอด แห่งหนึ่งของเอเชีย รับนักศึกษาชั้นสูง ที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามา มีนักศึกษาทั้งจากภาคต่างๆ ของอินเดียและจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเชิงอรรถ
     



กลับด้านบน
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕