การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามความคิดเห็นของเยาวชน (๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เยาวชนที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพานน้อย ซึ่งมีจำนวนจำนวน ๓๔๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (L.S.D) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
๑. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๘ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ ด้านปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๐๔ ด้านสมาธิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๘ และด้านศีล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๙๒ ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า ระดับความคิดเห็นของเยาวชนที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เยาวชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เยาวชนที่มีสถานภาพส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรมของเยาวชนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีผลทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอบางสะพานน้อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัญหาอุปสรรค (๑) ด้านศีล เยาวชนไม่ได้รับการแนะนำสั่งสอน ไม่มีความรู้ในเรื่องของศีล ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ (๒) ด้านสมาธิ ขาดการส่งเสริมให้เยาวชนนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่อง ขาดความเข้าใจเรื่องของสมาธิและหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องสมาธิติดรูปแบบเดิมๆ ขาดความอดทนและทักษะในการดำเนินชีวิต พระสงฆ์ไม่เพียงพอในการเข้าไปจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียน (๓) ด้านปัญญา พระสงฆ์ที่ให้ความรู้แก่เยาวชนมีจำนวนน้อย ขาดความร่วมมือกับเครือข่ายจัดการเรียนรู้ ขาดการส่งเสริมการเจริญปัญญา ทั้งในโรงเรียน ชุมชนและผู้ปกครอง ขาดความร่วมมืออย่างจริงจังจากชุมชน ผู้ปกครองยังไม่เข้าใจในหลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักปัญญาอย่างชัดเจน
ข้อเสนอแนะ (๑) ด้านศีล เยาวชนควรได้รับคำแนะนำ การพูดคุย และแสดงความคิดเห็นของตน การประพฤติปฏิบัติศีลควรมุ่งพัฒนาเยาวชนทุกช่วงวัย ควรพัฒนาด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมทางสังคมและควรฝึกบุคลากรโดยเน้นการปฏิบัติ (๒) ด้านสมาธิ ควรส่งเสริมให้เยาวชนมีการนั่งสมาธิเป็นประจำในทุกวันอย่างต่อเนื่องเยาวชนควรได้รับความเข้าใจในเรื่องของสมาธิและหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสมาธิ เพื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านและ (๓) ด้านปัญญา ควรนิมนต์พระสงฆ์ที่มีความรู้ด้านปัญญาให้ความรู้แก่เยาวชน การจัดกิจกรรมพื้นฐานเป็นการฝึกให้นักเรียนแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้