การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของพระสงฆ์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ประกอบด้วยการวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) และการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๑๖ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-Test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างตั้งแต่ ๓ กลุ่มขึ้นไป โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยสุดที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นพระลูกวัด จำนวน ๑๑๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๔ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง ๒๐ – ๓๐ ปีจำนวน ๕๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๗ มีจำนวนพรรษา ๕ – ๑๐ พรรษา จำนวน ๕๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๔ มีวุฒิการศึกษาสายสามัญอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๑๕๗ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๗ มีวุฒิการศึกษาระดับนักธรรมเอก จำนวน ๖๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐ ไม่มีวุฒิเปรียญธรรม จำนวน ๑๕๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘๙.๑
๒. ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๖ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดตั้งทุนสงเคราะห์การศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ๓.๓๙ ด้านการจัดหาอุปกรณ์การศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ๓.๒๐ ด้านการพัฒนาสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง ๓.๑๒
๓. การเปรียบเทียบคุณภาพการความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำแนกตาม สถานภาพ อายุ จำนวนพรรษา วุฒิทางการศึกษานักธรรม และวุฒิทางการศึกษาเปรียญธรรมไม่แตกต่างกัน ส่วนพระสังฆาธิการที่มีวุฒิทางการศึกษาสายสามัญมีความคิดเห็นแตกต่างกัน
๔. พระสงฆ์ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่า ความสำคัญต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเฉพาะบุคลากร ปัจจุบันการศึกษาของสถานศึกษาก็จะมีการพัฒนาไปของแต่ล่ะสถานศึกษาเท่าที่งบประมาณของแต่ล่ะแห่งจะสามารถหาได้ เพราะการช่วยเหลือจากคณะสงฆ์นั้นยังไม่ได้มีการจ่ายไปยังสถานศึกษาทุกแห่ง เนื่องข้อจำกัดในการหาเงินสนับสนุนทั้งการพัฒนาการศึกษา อุปกรณ์ทางศึกษาร่วมไปถึงการให้ทุนการศึกศึกสำหรับเด็กที่เรียนดี
สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์คือพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นควรให้การสนับสนุนทางด้านงบประมาณและอุปกรณ์ทางการศึกษาเพื่อให้มีการพัฒนาไปพร้อมๆกับคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้การพัฒนาเกิดประโยชน์สูงสุดกับบุคลากรและสังคมมากที่สุด
|