การศึกษาพระพุทธศาสนากับการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในหลักธรรมและระดับการปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักการเมืองพร้อมทั้งแนวทางในการพัฒนานักการเมืองให้มีคุณภาพโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยแบ่งเป็นภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำนวนภาคละ ๘๐ คน รวมทั้งหมด ๑๒๐ คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นตัวแปรอิสระ ๕ ตัวแปร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ภาค และจำนวนสมัยที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป้นตัวแปรตาม ๒ ตัวแปร ได้แก่ ความเข้าใจในหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา ของนัก การเมือง และ ระดับการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักการเมืองเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC +คำนวณหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญเป็นดังนี้
๑. นักการเมืองที่ดีและมีคุณภาพควรปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมการวางตนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ๘ ประการ คือ
๑) มีความซื่อสัตย์ สุจริต ทั้งวาจาใจ และการกระทำ
๒) มีความเที่ยงธรรมหรือเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
๓) มีสัจจะ รักษาคำพูด พูดจริง ทำจริง และมีความจริงใจ
๔) มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าที่การงานเพื่อส่วนรวม
๕) เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม
๖) เคารพปฏิบัติตามมติส่วนรวม
๗) เคารพที่ประชุมและรักษาความลับของที่ประชุมตามที่ระเบียบกำหนด
๘) หลีกเลี่ยงอบายมุขและหมั่นประพฤติตนในทางเจริญ
๒. การศึกษาความเข้าใจในหลักธรรมตามแนวทางพุทธศาสนาพบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสมัยแรก มีความเข้าใจในหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับดี สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ ๔๖ ปี ขึ้นไป มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและใต้ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ ๒ และตั้งแต่ ๔ สมัยขึ้นไป มีความเข้าใจในหลักธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา อยู่ในระดับปานกลาง
๓. การศึกษาระดับการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาพบว่าโดยภาพรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับบ่อยครั้งทุกเรื่อง |