Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาสุชาติ นาถกโร (บวกขุนทด)
 
Counter : 21047 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องการสงเคราะห์บุตรและภรรยาในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๔๕)
Researcher : พระมหาสุชาติ นาถกโร (บวกขุนทด) date : 20/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ)
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นายสมชัย ศรีนอก
Graduate : ๘ เมษายน ๒๕๔๕
 
Abstract

     วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหลักการสงเคราะห์บุตรและภรรยาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ตลอดทั้งหลักธรรมที่เกี่ยวข้องและประโยชน์การสงเคราะห์บุตรและภรรยา แบ่งออกเป็น ๕ บท ดังนี้ :-

     บทที่ ๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเขตการวิจัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการ คำจำกัดความ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

     บทที่ ๒ หลักการสงเคราะห์บุตรและภรรยา ความหมาย ความสำคัญ ประเภทและศึกษากรณีตัวอย่าง

     บทที่ ๓ หลักธรรมที่สัมพันธ์และที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการสงเคราะห์บุตรและภรรยา

     บทที่ ๔ คุณค่าการสงเคราะห์บุตรและภรรยาในฐานะที่เป็นจริยธรรมและประโยชน์การสงเคราะห์

     บทที่ ๕ สรุปและเสนอแนะ

     จากการศึกษาพบว่า สถานภาพของครอบครัวไทยปัจจุบัน ในยุคโลกของวัตถุนิยมมีปัญหาทางด้านครบอครัวหลายประการ เช่น ปัญหาเด็กจรจัด ปัญหายาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่นปัญหาโสเภณีเด็ก ปัญหาการข่มขืนชำเราเด็ก และปัญหาการทำแท้ง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้นำครอบครัวคือสามี (ภรรยา) จะต้องดิ้นรน ขวนขวสยออกไปทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด ทำให้เขาเหล่านั้นขาดความรัก ความอบอุ่น ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุตรไม่มีความเคารพเชื่อฟัง ขาดจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่การศึกษาเล่าเรียน

     สถาบันครอบครัวไทยปัจจุบัน จึงตกอยู่ในสภาวการณ์ที่วิกฤตอย่างมาก จะเห็นได้จากสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ ที่สื่อสะท้อนให้เห็นถึงความตกต่ำทางศีลธรรมปัญหาทางครอบครัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งสามีภรรยา บิดามารดาและบุตร ต่างก็ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการสงเคราะห์บุตรและภรรยาอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น หากบุคคลทุกฝ่ายในสถาบันครอบครัว ได้ศึกษาหลักการเกี่ยวกับการสงเคราะห์บุตรและภรรยา (โดยเฉพาะการสงเคราะห์บุตรและภรรยาในทรรศนะของพุทธศาสนา) ให้รู้ถึงคุณค่า และสามารถนำหลักการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในครอบครัวได้ ย่อมมีส่วนช่วยลดปัญหาระหว่างสามีกับภรรยา หรือปัญหาระหว่างบิดามารดากับบุตร อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาและสร้างสังคม คือ ครอบครัว ให้มีรากฐานมั่นคงสืบต่อไป

Download : 254513.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012