Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระครูประสิทธิสรคุณ (บุรินทร์ ฐิตธมฺโม)
 
Counter : 21046 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องความไม่ประมาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๔๕)
Researcher : พระครูประสิทธิสรคุณ (บุรินทร์ ฐิตธมฺโม) date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหาเทียบ สิริญาโณ
  ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  นายสนิท ศรีสำแดง
Graduate : ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๕
 
Abstract

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาหลักธรรมคือความไม่ประมาทในพระพุทธศาสนาเถรวาท ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่ประมาทกับหลักธรรมข้ออื่นๆ และบทบาทตลอดทั้งประโยชน์ของความไม่ประมาทในชีวิตประจำวัน

 

            การวิจัยนี้ เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) ซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท ในแต่ละบทนั้น มีเนื้อหาหลักดังนี้

 

            บทที่ ๑ บทนำ

 

            บทที่ ๒ ศึกษาความไม่ประมาทที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และความสำคัญของความไม่ประมาท

 

            บทที่ ๓ ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวกับความไม่ประมาท เช่น สติ คารวะ อปริหานิยธรรม และอริยมรรคมีองค์ ๘

 

            บทที่ ๔ ศึกษาบทบาท ประโยชน์ของความไม่ประมาทในวิถีชีวิตประจำวัน และหลักการพัฒนาให้เกิดความไม่ประมาท

 

            บทที่ ๕ สรุปผลของการวิจัย บทวิจารณ์ และข้อเสนอแนะ

 

 

 

            จากการวิจัยพบว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่เสมอ ในทุกเหตุการณ์ ทุกสถานการณ์ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย คือ การเป็นอยู่ด้วยความตื่นตัว มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ก่อนคิด พูดและทำตลอดเวลา ระมัดระวังภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นทุกขณะ ตรงข้ามกับความประมาท กล่าวคือ คือ การเป็นอยู่อย่างขาดสติ ขาดความระมัดระวัง เลินเล่อ ทำอะไรโดยไม่รอบคอบ เป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาดในกิจการงานต่างๆ บุคคลผู้มีความประมาท ย่อมพลาดจากประโยชน์ที่ตนจะพึงมีพึงได้

 

            หลักธรรมที่ส่งเสริมความไม่ประมาท ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน ปรโตโฆสะ คือ เสียงจากผู้อื่นหรือการได้สดับจากคนอื่นหรือจากฝ่ายอื่น อันเป็นส่วนที่ดีงาม และกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอกเป็นต้น สาเหตุแห่งความประมาท คืออบายมุข ได้แก่ ช่องทางแห่งความหายนะทั้งหลาย เช่น การเป็นนักเลงการพนัน นักเลงสุรา

 

            อัปปมาทธรรม ถือได้ว่า เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติธรรมทุกระดับ และในหน้าที่การงานทุกอย่าง เพราะถ้ามีความประมาทเสียแล้ว ชีวิตย่อมไร้ค่ากิจกรรมทั้งหลาย ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้ ความไม่ประมาท จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อตนเองและสังคมทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Download : 254503.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012