Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาไสว โชติโก (ทำนา)
 
Counter : 21049 time
การศึกษาวิเคราะห์ธรรมกายในพระพุทธศาสนา (๒๕๔๓)
Researcher : พระมหาไสว โชติโก (ทำนา) date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต)
  ผศ.ดร.สมภาร พรมทา
  -
Graduate : ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓
 
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งสำรวจ ประมวลและศึกษาคำสอนเรื่องธรรมกายที่ปรากฎในพระไตรปิฎกและอรรถกถาของฝ่ายเถรวาท     ในพระสูตรมหายาน   และในคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคลเทพมนุนี : สด  จนฺทสโร) ในเรื่องความหมาย  ลักษณะตามสามัญลักษณะ  องค์ประกอบและวิธีการเข้าถึง ว่ามีความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

          ผลการวิจัยพบว่า  ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาของเถรวาท  ธรรมกายเป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า  อรรถกถาอธิบายต่อว่า  หมายถึงพระองค์เป็นที่รวมธรรมและหลั่งธรรมออกมา  ธรรมกายประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑  และพระนิพพานนั้น มีลักษณะเป็นนิจจัง  สุขัง อนัตตา  เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาหรือมรรคมีองค์แปดที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา

          สำหรับพระพุทธศาสนามหายาน  ธรรมกายเป็นกายหนึ่งในตรีกาย คือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย     ธรรมกายนี้มีคำใช้เรียกอีกหลายคำ  เช่น ตถตา  ตถาคตคัพภะ  ธรรมตา มีลักษณะเป็นสุญญตา  เป็นอมตะและเป็นอนัตตา  ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงธรรมกายได้โดยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาโดยเฉพาะคือ ปัญญา

          ในคำสอนของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ  ธรรมกายเป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า  และเป็นกายที่สุดละเอียดของมนุษย์  ธรรมกายนี้อยู่พ้นการปรุงแต่งทั้งปวง  ไม่ตกอยู่ในอาณัติของไตรลักษณ์  เป็นอสังขตะ  มีลักษณะเป็นนิจจัง  สุขัง  อัตตา ธรรมกายเข้าถึงได้ด้วยหลักไตรสิกขาหรือมัชฌิมาปฏิปทาตามการตีความของหลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ  แต่ไม่ปรากฎในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาทและของมหายานทั่วไป
 

Download : 254317.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012