Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมหาธีระวุฒิ ธีรธมฺโม (โสมเกษตรินทร์)
 
Counter : 19974 time
บทบาทของพระสงฆ์ สื่อบุคคลในการชี้นำและปลูกจิตสำนึกประชาชนชนบท เพื่อการมีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษาเฉพาะกรณี พระสังฆาธิการระดับเจ้า (๒๕๔๓)
Researcher : พระมหาธีระวุฒิ ธีรธมฺโม (โสมเกษตรินทร์) date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
Committee :
  พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโร
  รศ.บำรุง สุขพรรณ์
  ผศ.สากล ไพเราะ
Graduate : ๑๒ เมษายน ๒๕๔๓
 
Abstract

 

 

 

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Servey Reserch) ศึกษาเฉพาะกลุ่มประชากรพระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน ๒๐๐ รูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวนและร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้สถิติ t-test และไค-สแควร์ (Chi-Square Test) ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งผลการวิจัยมีปรากฏดังนี้
 ประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่    มีบทบาทในการชี้นำ  และปลูกจิตสำนึกประชาชนชนบท  เพื่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อยู่ในระดับปานกลาง   คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๕  และอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๐

          ประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่ได้มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้จากสื่อวิทยุโทรทัศน์มากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๐ โดยมีการติดตามในระดับทุกวันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๕  และประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่ยังได้นำข่าวสารที่ได้รับไปใช้แนะนำ เทศน์สอนประชาชนชนบท คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๐ แต่มีความถี่ในการนำไปใช้ไม่มาก  คือนำไปใช้ในระดับมากกว่า ๒ สัปดาห์ ต่อครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๕

          ประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่ได้เลือกใช้วิธีการสื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยการลงมือทำเป็นแบบอย่างหรือสาธิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๕ และเลือกใช้วิธีการเทศน์สอน ชี้แนะหรือบรรยาย คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๐  ส่วนวิธีการสื่อสารโดยผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ พบว่า   ประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่เลือกใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๒๔.๐ เท่ากัน     รองลงมาเลือกใช้สื่อวิทยุโทรทัศน์  คิดเป็นร้อยละ  ๒๑.๐

          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภูมิหลังของประชากรพระสงฆ์ที่แตกต่างกันมีบทบาทในการชี้นำและปูกจิตสำนึกประชาชนชนบท เพื่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการเลือกใช้วิธีการสื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยการเทศน์สอน ชี้แนะ หรือบรรยายธรรม และการสื่อสารโดยการลงมือทำเป็นแบบอย่างหรือสาธิต รวมถึงระดับวิธีการสื่อสารแบบสองขั้นตอนโดยผ่านผู้นำชุมชนเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ของประชากรพระสงฆ์ที่แตกต่างกัน  มีบทบาทในการ   ชี้นำและปลูกจิตสำนึกประชาชนชนบทแตกต่างกัน  แต่ระดับการเลือกใช้วิธีการสื่อสารของประชากรพระสงฆ์แบบสองขั้นตอน โดยผ่านหน่วยงานของรัฐที่แตกต่างกัน  มีบทบาทในการชี้นำประชาชนชนบทไม่แตกต่างกัน

          ส่วนระดับการเลือกใช้วิธีการสื่อสารโดยผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์ของประชากรพระสงฆ์ที่แตกต่างกัน มีบทบาทในการชี้นำประชาชนชนบท แตกต่างกัน  แต่ระดับการเลือกใช้วิธีการสื่อสารโดยผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ เอกสารแผ่นพับ หรือโปสเตอร์ที่แตกต่างกันมีบทบาทในการชี้นำประชาชนไม่แตกต่างกัน 

           สำหรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชากรพระสงฆ์พบว่า ประชากรพระสงฆ์ส่วนใหญ่ เห็นด้วยอย่างยิ่งกับบทบาทของพระสงฆ์ในการเข้ามามีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และมีความพร้อมในบทบาทดังกล่าว  พระสงฆ์ควรจะให้ความสนใจติดตามข่าวสารการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากสื่อมวลชนต่าง ๆ เพื่อนำข่าวสารที่ได้รับและหลักธรรมต่าง ๆ ได้แก่ เมตตาธรรม กตัญญูกตเวที ศีล๕ และความสันโดษเป็นต้น ไปใช้แนะนำหรือเทศน์สอนประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม  ตลอดถึงสื่อมวลต่าง ๆ   ก็ควรนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้มากขึ้นกว่านี้.



 

Download : 254304.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012