งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน จริยธรรมในระดับประถมศึกษาปีที่ ๓ ของครูในโรงเรียนสังกัดอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับครูผู้สอน สาระสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการโดยการพรรณนาวิเคราะห์ แล้วนำเสนอโดยการสร้างตาราง ประกอบการบรรยาย ซึ่งผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ด้านสภาพการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนประสบปัญหาด้านการเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยที่ชัดเจน การใช้คำถามแบบปุจฉาวิสัชนาระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน การสนทนาที่ถูกต้องตามการสอนแบบพุทธวิธี การจัดทำสื่อที่ไม่สอดคล้องกับพุทธวิธีการสอน ตลอดจนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดประเมินผลที่สอดคล้องกับเนื้อหา เทคนิควิธีตามหลักพุทธธรรม เนื่องจากครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการสอนจริยธรรม ดังนั้นในการพัฒนาการเรียนการสอน จึงต้องการครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถทางจริยธรรมโดยเฉพาะ ส่วนการดำเนินการสอน ครูผู้สอนประสบปัญหาในเรื่องของนักเรียนขาดทักษะในการตั้งคำถามและทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิธีการสอนที่ใช้สอนส่วนมาก คือ แบบศูนย์การเรียนและแบบอภิปราย โดยใช้กระบวนการ
กลุ่มเป็นกระบวนการเรียนรู้ แต่นักเรียนต้องการให้ครูสอนโดยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เสริมบทเรียนที่มีอยู่แล้ว และให้มีการแสดงบทบาทสมมุติ ให้ศึกษาจากสถานที่จริง รวมทั้งให้ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนหลาย ๆ วิธี
ด้านการใช้สื่อและอุปกรณ์การสอน ครูผู้สอนประสบปัญหาเรื่องสื่อการจัดทำสื่อการสอนที่มีไม่เพียงพอ ขาดสื่อการสอนที่ทันสมัย เช่น สไลด์ วีดีทัศน์ สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นรูปภาพ จากหนังสือ นิตยสาร ภาพข่าว เหตุการณ์ ซึ่งนักเรียนต้องการให้ครูใช้สื่อหลายๆ ประเภท ประกอบการเรียนการสอน นอกจากนี้ครูผู้สอนต้องการให้มีการอบรมให้ความรู้ในการจัดทำสื่อการสอน และต้องการสื่อที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้และให้มีความเพียงพอ ต่อนักเรียนด้วยด้านสถานที่ และงบประมาณ ประสบปัญหามากที่สุด คือ ขาดห้องเรียนที่ใช้ในการจัดการเรียน การสอนโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ห้องเรียนปกติ ครูผู้สอน ต้องการห้องเรียนจริยธรรม โดยเฉพาะเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนด้านการวัดและประเมินผล ครูประสบกับสภาพเรื่องขาดความรู้และทักษะในการสร้างเครื่องมือ ขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการวัดและประเมินผล ซึ่งปกติจะใช้วิธีการสังเกตพฤติกรมเป็นหลัก ซึ่งบางอย่างไม่สอดคล้องกับวิธีวัดและประเมินผล เพราะด้านจริยธรรมบางกรณีศึกษาต้องการให้ประเมินผลที่การปฏิบัติ
ด้านการจัดกิจกรรมเสริม ไม่มีปัญหาเพราะสภาพแวดล้อมของที่ตั้งอยู่ใกล้กับวัดและสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยประกอบการกับผู้ปกครอง ส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางจริยธรรมดี จึงไม่ประสบปัญหาแต่ที่ครูและนักเรียนต้องการคือ ให้มีงบประมาณในการจัดกิจกรรมการเสริมให้มากครั้งขึ้น และเชิงลึก และมีคุณภาพมากขึ้นด้วยนักเรียนมีปัญหาพฤติกรรม ด้านจริยธรรมในเรื่อง ความเสียสละ ความมีระเบียบวินัย ความอดทน การประหยัด การตรงต่อเวลา ความขยันและความสามัคคี ผู้ปกครองต้องการให้จัดกิจกรรมอบรมธรรมะในโรงเรียน และให้นักเรียนเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาให้มาก และเหมาะสมกับนักเรียนยิ่งขั้น เพื่อปลูกฝังพฤติกรรม ค่านิยมที่ดีให้กับนักเรียนการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนได้นำหลักธรรมคำสอนไปใช้ปฏิบัติได้เหมาะสม กับวัย และสถานภาพของตนเอง
|