Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระอินตอง อุตฺตโม (ชัยประโคม)
 
Counter : 21086 time
ศึกษาหลักจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้าน: กรณีศึกษา การขับงึมลาว เมืองทุละคมแขวงเวียงจันทน์ ลาว(๒๕๕๑)
Researcher : พระอินตอง อุตฺตโม (ชัยประโคม) date : 21/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต
  ดร.อุดร จันทวัน
Graduate : ๒๕๕๑
 
Abstract

 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงพื้นบ้าน กรณีศึกษา การขับงึมลาว เมืองทุละคม แขวงเวียงจันทน์ โดยมีวัตถุประสงค์

            ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการขับงึม
            ๒. เพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายของการขับงึม
            ๓. เพื่อศึกษาหลักจริยธรรมที่ปรากฏในกลอนลำขับงึม
 
จากการศึกษาพบว่า
                   ๑. การขับงึมนั้นได้วิวัฒนาการมาจากการอ่านหนังสือเทศน์ หรือ การอ่านหนังสือวรรณกรรมพื้นบ้าน จนกลายมาเป็นขับงึมในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอย่างแท้จริง เป็นวรรณกรรมของชาวบ้านในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้อนุรักษ์ และผู้ใช้ วรรณกรรมจึงมีบทบาทสำคัญในสังคมลาว คือควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบด้วยการสอนจริยธรรมให้แก่ประชาชน ที่ได้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตลอดจนสอนเรื่องระเบียบจารีตประเพณีอันดีงามที่จะพึงปฏิบัติให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงอีกด้วย เพราะการขับงึมเป็นสัญลักษณ์ประจำแขวงเวียงจันทน์ ที่ประชาชนได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษจนมาถึงปัจจุบัน เพลงขับงึมส่วนมากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เนื่องจากขับงึมมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา จึงทำให้เนื้อหาของบทกลอนขับงึมไม่สลับซับซ้อนมากนัก เพราะเนื้อหาของบทเพลงขับงึมมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ด้วยจึงทำให้เข้าใจง่ายสามารถนำมาปฏิบัติได้
                       ๒. ประเพณีการขับงึมถือว่าเกี่ยวข้องกับการทำบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ผู้ล่วงลับ ตามคติความเชื่อของประชาชนลาวถือได้ว่า การทำบุญไปให้ผู้ล่วงลับไปนั้น จะต้องเอาขับงึมมาฉลองในงานด้วย เพื่อแสดงถึงความรักสามัคคีซึ่งกันและกัน ระหว่างญาติพี่น้องกับผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำให้ผู้ล่วงลับได้รับความสุข สมหวังในภพที่ตนเองอาศัยอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ล่วงลับไปชอบฟังการขับงึม เมื่อตนเองยังมีชีวิตอยู่ ก็จะบอกลูกบอกหลาน ถ้าตนเองสิ้นชีวิตไปเมื่อไร เวลาทำบุญอุทิศให้ไปจ้างขับงึมมาสมโภช ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าความเชื่อเรื่องการขับงึมกับการทำบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ผู้ตาย น่าจะมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน นั้นก็คือ เพื่อให้ผู้ตายไปได้รับความสุข ตามหลักของพระพุทธศาสนา อีกอย่างก็เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวและสังคมรู้รักสามัคคีกันขึ้น หากกระทำในโอกาสที่ญาติคนใดคนหนึ่งหรือสมาชิกภายในครอบครัวล่วงลับไปก็มักจะกระทำเพื่ออุทิศส่วนบุญแก่พวกเขา มุ่งให้เขาได้รับประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำของตน ประชาชนถือว่าเมื่อจ้างหมอขับงึมมาฉลองให้ญาติพี่น้องหรือพ่อแม่ที่ตายจากไปจะได้รับผลบุญของตนเองที่ได้ทำไปให้ได้รับกับมือ ยังทำให้ผู้จากไปนั้นได้รับความดีอกดีใจกับลูกหลานอีกด้วย นับเป็นประเพณีที่ได้ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ โดยเฉพาะแขวงเวียงจันทน์จนแพร่หลายในปัจจุบัน
                         ๓. จุดมุ่งหมายของชาวแขวงเวียงจันทน์ ใน“การขับงึม” เพื่อให้ความบันเทิงสนุกสนานแก่ประชาชน ซึ่งไม่เคยเหือดหายไปจากแขวงเวียงจันทน์ การขับงึมเป็นเพลงพื้นบ้านในด้านศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมสูงสุดของประชาชนชาวแขวงเวียงจันทน์อยู่ในขณะนี้ ไม่ว่างานประเพณีใดๆที่เกิดขึ้นในเขตแขวงเวียงจันทน์ จะต้องมีการขับงึมมาขบกล่อมถ้าหากขาดการขับงึมไป ดูเหมือนว่าในงานนั้นจะอยู่ในความเงียบเหงาไม่มีชีวิตชีวา ดังนั้น การขับงึมจึงเป็นพื้นฐานแห่งความบันเทิงใจของประชนชน และโดดเด่นกว่าการขับลำอื่นๆ ที่มีอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ขณะนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาในการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านขบวนการขัดเกลาคนในสังคมโดยใช้ความบันเทิงเป็นสื่อ ในการสั่งสอนจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ถ่ายทอดจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคมได้เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้ยินได้ฟังการขับงึม ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงมีความสนุกสนาน แต่แฝงไปด้วยคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น สอนให้รู้จักให้ทาน รักษาศีล ความกตัญญู บาปบุญ และความสามัคคี เป็นต้น

Download : 255186.pdf

 

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012