การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ
(๑) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การ
จัดองค์การและการบริหารของสถาบันแม่ชีไทย ตาม พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย
(๒) เพื่อวิเคราะห์ความ
คิดเห็นเกี่ยวกับการจัดองค์การและจุดมุ่งหมายในการร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย และปัจจัยที่มีผลต่อ
จุดมุ่งหมายในการร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การใช้
แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างใน ๔ มิติ ได้แก่ พระสงฆ์ แม่ชี นักกฎหมาย และพุทธศาสนิกชน
ทั่วไป มิติละ ๑๐๐ ราย แล้วนำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ สถิติอัตรา
ส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายสภาพทั่วไปของข้อมูลที่จัดเก็บได้ และ
สถิติการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบ
ความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อจุดมุ่งหมายในการร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย รวมถึง
ความสามารถในการอธิบายการผันแปรของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามของกลุ่มตัวอย่างทั้ง
๔ มิติ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. ปัจจัยในการบริหารงานของสถาบันแม่ชีไทย ตาม พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย มีปัจจัย
ร่วม ๗ ปัจจัย ได้แก่
(ก) การวางแผน
(ข) การจัดหน่วยงาน
(ค) การบริหารงานบุคคล
(ง) การอำนวยการ
(จ) การประสานงาน
(ฉ) การรายงานผลการปฏิบัติงานและการประชาสัมพันธ์
(ช) การงบประมาณ๒. ในมิติของพระสงฆ์ ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามจุดมุ่งหมายในการร่าง
พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การวางแผนงาน การจัดหน่วยงาน และ
การงบประมาณ โดยที่ตัวแปรอิสระทั้ง ๓ ตัวแปรมีผลในเชิงบวก
๓. ในมิติของแม่ชี ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามจุดมุ่งหมายในการร่าง พ.ร.บ.
คณะแม่ชีไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การวางแผนงาน การบริหารงานบุคคล การประสานงาน
และการรายงานผลการปฏิบัติงาน และการประชาสัมพันธ์ โดยที่ตัวแปรอิสระ ๓ ตัวแปร ได้แก่
การวางแผนงาน การประสานงาน การรายงานผลการปฏิบัติงานและการประชาสัมพันธ์ มีผลใน
เชิงบวก และตัวแปรอิสระการบริหารงานบุคคลมีผลในเชิงลบ
๔. ในมิติของนักกฎหมาย ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามจุดมุ่งหมายในการร่าง
พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การวางแผนงาน การประสานงาน และ
การรายงานผลการปฏิบัติงานและการประชาสัมพันธ์ โดยที่ตัวแปรอิสระทั้ง ๓ ตัวแปรมีผลใน
เชิงบวก
๕. ในมิติของประชาชนทั่วไป ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อตัวแปรตามจุดมุ่งหมายในการ
ร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การวางแผนงาน และการรายงานผลการ
ปฏิบัติงาน และการประชาสัมพันธ์ โดยที่ตัวแปรอิสระทั้ง ๒ ตัวแปรมีผลในเชิงบวก
๖. ข้อเสนอแนะรูปแบบของร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทย ในอันที่จะพัฒนาขีด
ความสามารถขององค์กรแม่ชีคือ (ก) ปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. คณะแม่ชีไทยให้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(ข) ปรับปรุงในส่วนของการควบคุมสำนักแม่ชีโดยพระสงฆ์ในระดับเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะ
อำเภอ (ค) เพิ่มเติมหน้าที่ของหัวหน้าสำนักแม่ชีในการสำรวจ และจัดทำประชาคมในพื้นที่เพื่อ
ประสานงานในการปฏิบัติงานของสำนักแม่ชีกับชุมชน (ง) ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา
แม่ชีไทย เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาขององค์การแม่ชีไทยอย่างยั่งยืน
Download : 254982.pdf
|