Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระสานนท์ จรณธมฺโม (เตี้ยนวน)
 
Counter : 19960 time
การศึกษาเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวความคิดทางการเมือง ของเพลโต กับของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)(๒๕๔๙)
Researcher : พระสานนท์ จรณธมฺโม (เตี้ยนวน) date : 29/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
Committee :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม
  นายรังษี สุทนต์
Graduate : ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
 
Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทางการเมืองของเพลโต
กับของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และเปรียบเทียบแนวความคิดทางการเมือง
ของทั้งสองท่าน
ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดทางการเมืองของเพลโตเกิดจากสภาพความ
ปั่นป่วนในนครเอเธนส์ เป็นเหตุให้โสคราตีสผู้เป็นอาจารย์ถูกประหาร เพราะวิพากษ์วิจารณ์
สังคมการเมือง เมื่อนครเอเธนส์อยู่ภายใต้การปกครองของสปาร์ตาแล้ว เพลโตก็ออก
ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม กลับมาสู่เอเธนส์เพื่อตั้งสำนักอคาเดมี
เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ทางการศึกษาและการเมืองแก่สังคม ลักษณะผู้นำทาง
การเมืองที่ดีจะต้องมีร่างกายแข็งแรงและจิตแจ่มใส ราชาปราชญ์ที่เป็นผู้ปกครองต้องมีความรู้
ลักษณะการเมืองที่ดีต้องให้การศึกษาแก่ประชาชน รูปแบบการปกครองที่ดีของเพลโตก็คือ
อภิชนาธิปไตย อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อแนวความคิดทางการเมืองของเพลโตเชิง
อภิปรัชญาอยู่ในโลกของแบบ จุดเด่นการพัฒนาทางการเมืองนั้นต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบ
และจุดอ่อนทางการเมืองอยู่ที่ประชาชนขาดการศึกษา นักการเมืองเห็นประโยชน์ตนสำคัญ
กว่ารัฐ ส่วนแนวความคิดทางสังคมการเมืองของเพลโตอยู่ที่การแบ่งงานกันทำ ปัญหา
สังคมการเมืองมาจากความคิดจินตนาการเกินความจริง ความเข้มแข็งทางการเมืองอยู่ที่
การจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วม อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อการสรรค์สร้างสังคมการเมืองก็คือการพัฒนาจิต การศึกษาที่เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมก็คือเลขคณิต เลขาคณิต และดารา
ศาสตร์
แนวความคิดทางการเมืองของพระพรหมคุณาภรณ์มาจากพระพุทธศาสนา ตาม
แนวความคิดของท่านนักการเมืองจะต้องมีคุณธรรม รูปแบบการเมืองที่ดีมีราชาธิปไตยกับ
ประชาธิปไตย อิทธิพลชาดกในศาสนามีต่อแนวความคิดทางการเมือง โดยมองปัญหาการเมือง
ในเชิงพัฒนาได้มาจากความจริงของความเป็นมนุษย์ และความเมตตาที่เป็นสากล จุดเด่น
ระบบราชาธิปไตยอยู่ที่การแสวงหาอำนาจมาพัฒนาความสงบสุขของประชาชน และจุดเด่น
ระบบประชาธิปไตยอยู่ที่ความสามัคคีมีศีลธรรม ส่วนจุดอ่อนอยู่ที่การใช้เสียงข้างมาก
ปราศจากความยุติธรรมและความถูกต้อง ส่วนแนวความคิดทางสังคมการเมืองของ
พระพรหมคุณาภรณ์อยู่ที่การศึกษาเพื่อให้คนบรรลุเป้าหมาย มองปัญหาทางสังคมมาจาก
การขาดสิทธิเสรีภาพและความไม่เสมอภาค เสนอทางออกต่อสังคมการเมืองในการสร้าง
จริยธรรมนักการเมือง สร้างสรรค์ธรรมาธิปไตยให้เป็นพื้นฐานประชาธิปไตย อิทธิพลของ
มนุษย์ที่มีต่อการสรรค์สร้างสังคมการเมืองมีกลุ่มนักการเมือง กลุ่มผู้นำทั่วไป และกลุ่มผู้นำ
ศาสนา ซึ่งการศึกษาที่เป็นเครื่องมือพัฒนาสังคมก็คือไตรสิกขา
ผลจากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ แนวความคิดทางการเมืองของเพลโตกับ
ของพระพรหมคุณาภรณ์ผู้ปกครองที่ดีเหมือนกัน เพลโตยกย่องการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย
พระพรหมคุณาภรณ์ได้ให้ความสนใจการปกครองแบบราชาธิปไตยกับแบบประชาธิปไตย
อิทธิพลของศาสนาต่อแนวความคิดทางการเมืองแตกต่างกัน การมองปัญหาการเมืองใน
เชิงพัฒนาเหมือนกันคือจะต้องพัฒนาการศึกษา จุดเด่นทางการเมืองเหมือนกันคือการมี
กฎระเบียบ จุดอ่อนทางการเมืองอยู่ที่ตัวบุคคลผู้ที่เป็นนักปกครองขาดคุณธรรม ส่วนสังคม
ทางการเมืองที่ดีแตกต่างกัน เพลโตยกย่องเรื่องการแบ่งงานกันทำและเน้นการจัดตั้งองค์กร
พระพรหมคุณาภรณ์ยกย่องการมีคุณธรรมและเน้นความสามารถของบุคคล อิทธิพลของ
มนุษย์ต่อการสรรค์สร้างสังคมทางการเมือง และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมทางการเมือง
เหมือนกัน ตลอดทั้งการประยุกต์ใช้แนวความคิดทางการเมืองของทั้งสองท่านในระบบ
การเมืองไทย มีหลักการปกครองตามหลักอุตมรัฐ และหลักอธิปไตย ๓ เพื่อใช้เป็นพื้นฐาน
การพัฒนาสังคมการเมืองที่ดี
Download :  254985.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012