Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » นางณัฏฐรัตน์ ผาทา
 
Counter : 20002 time
การศึกษาวิเคราะห์บทสวดมนต์พุทธอัฏฐชยมงคลคาถา (คาถาพาหุง)(๒๕๕๐)
Researcher : นางณัฏฐรัตน์ ผาทา date : 20/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  นายสนิท ศรีสำแดง
  นาย รังษี สุทนต์
Graduate : ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐
 
Abstract

              วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการศึกษาวิเคราะห์บทสวดมนต์พุทธอัฏฐ ชยมงคลคาถาในเชิงการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อหาของบทสวดมนต์บทนี้ พร้อมกับประเด็นในด้านหลักธรรมที่ปรากฏในแต่ละบท รวมถึงประเด็นด้านอิทธิพลของบทสวดมนต์ที่มีต่อสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่าบทสวดมนต์นี้ผู้แต่งต้องการที่จะนำเสนอกรอบแนวคิดเรื่องการ เอาชนะอุปสรรคของพระพุทธองค์ซึ่งมีทั้งหมด ๘ ครั้ง นับตั้งแต่การผจญมารก่อนการตรัสรู้ไปจนถึงการเสด็จไปพรหมโลกเพื่อสั่งสอนพกา พรหม เป็นต้น ดังนั้น ความหมายของบทสวดมนต์แม้ว่าจะมีผู้ตั้งชื่อไว้แตกต่างกันแต่ก็มีความ หมายอยู่เพียงความหมายเดียวคือบทสวดมนต์ที่ว่าด้วยชัยชนะของพระพุทธองค์บท สวดมนต์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยังไม่อาจจะหาข้อสรุปได้แม้ว่าจะมีผู้ยืน ยันประสบการณ์ทางจิตอันเกี่ยวเนื่องด้วยบทสวดมนต์นี้ก็ตาม แต่ข้อยืนยันดังกล่าวมักจะถูกคัดค้านจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแหล่งที่มาของ ความรู้ดังกล่าว ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของบทสวดมนต์นี้จึงแบ่งได้เป็น ๒ แนทางคือ (๑) เห็นว่าแต่งขึ้นที่ลังกาโดยพระพุทธโฆสาจารย์ (๒) เห็นว่าแต่งขึ้นที่ประเทศไทย โดยมีความเห็นที่แตกแยกออกไปอีกเป็น ๒ แนวคิดคือเห็นว่าแต่งขึ้นในสมัยล้านนาและเห็นว่าแต่งขึ้นในสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนต้น
บทสวดนี้แต่ละคาถาล้วนมีหลักธรรมที่สำคัญปรากฏอยู่ เช่น หลักขันติธรรม หลักอธิษฐานธรรมคือการตั้งสัจจอธิษฐานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก นอกจากนั้นก็ยังมีหลักธรรมที่สำคัญก็คือหลักแห่งความเมตตาที่ท่านมุ่งสอนให้ ผู้สวดมนต์รู้จักการแผ่เมตตาเป็นเบื้องต้นก่อนที่จะต่อสู้กับอุปสรรค ต่างๆ ในชีวิตโดยหลักธรรมที่ปรากฏในทุกคาถานั้นมีนัยของวิธีการที่จะเอาชนะอุปสรรค รวมอยู่ด้วยบทสวดมนต์นี้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในหลาย ๆ ด้านคือ
(๑) ด้านความเชื่อ ซึ่งแบ่งความเชื่อออกเป็น ๒ ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งเชื่อว่าสวดมนต์บทนี้แล้วจะสามารถบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาในชีวิต ได้ตามนัยของความหมายของบทสวดมนต์นี้ ส่วนที่สองเชื่อว่าการรสวดมนต์บทนี้ทำให้สามารถรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ตลอดไป
(๒) อิทธิพลในด้านการศึกษา ได้แก่ การนำเอาบทสวดมนต์นี้ไปเป็นกรอบในการอบรมผู้เรียนให้เป็นผู้มีจิตใจที่ฮึก เหิมใคร่ที่จะเอาชนะอุปสรรค
(๓) อิทธิพลในด้านศิลปกรรมและจิตรกรรม สังคมได้นำเอาเรื่องราวที่ปรากฏในคาถาแต่ละเรื่องไปสร้างงานเชิงศิลปกรรมและ จิตรกรรมได้อย่างหลากหลาย
(๔) อิทธิพลด้านการเมือง สังคมไทยได้นำเอาบทสวดมนต์นี้ไปใช้ในการสร้างขวัญและกำลังใจในการป้องกันผู้ รุกรานในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤต
(๕) อิทธิพลในด้านวรรคดี สังคมไทยได้นำเอาบทสวดมนต์บทนี้ไปอธิบายเพื่อเป็นการให้การอบรมสั่งสอนทั้ง ในส่วนของผลงานเชิงร้อยแก้วและผลงานเชิงร้อยกรอง
(๖) อิทธิพลในด้านพิธีกรรมของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์ได้นำเอาบทสวดมนต์นี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมได้อย่างกลมกลืนทั้ง ในส่วนของพิธีกรรมทั่วไปและพิธีกรรมของรัฐในอนาคตควรมีการวางท่าทีในการ ศึกษาบทสวดมนต์อย่างถูกต้องมากขึ้นโดยไม่เพียงแค่มุ่งหวังประโยชน์เพียงการ สวดมนต์ท่องบ่นเท่านั้น แต่ควรที่จะนำเอาบทสวดมนต์นี้มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาของ ชาติเพื่อให้ประชาชนในรุ่นต่อมาจะได้ศึกษาบทสวดมนต์นี้อย่างละเอียด

 

Download :  255050.pdf
 

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012