วิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัยศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎก และคัมภีร์วิสุทธิมรรค ศึกษาหลักธรรมที่ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกนั้น คือ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นกระบวนการเกิดทุกข์และดับทุกข์...การศึกษาคัมภีร์วิสุทธิมรรคก็กล่าวถึงธรรมทั้งหลาย ที่เป็นภูมิแห่งปัญญานี้ ที่กล่าวไว้ว่า "ธรรมต่างโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และปฏิจสมุบาทเป็นอาทิ เป็นภูมิแห่งปัญญา"
อย่างไรก็ตาม การศึกษาหลักปฏิจจสมุปบาทในฐานะอิทัปปัจจยตานั้น แสดงความจริงตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย มีสภาวะเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไป มีความสำคัญเพื่อแสดงกระบวนสภาวธรรมหลักอิทัปปัจจยตา
พุทธทาสภิกขุได้ชี้ประเด็นและตีความ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม แสดงให้เห็นภาวะความเป็นทุกข์แล้ว มุ่งสู่การดับทุกข์ เน้นกระบวนธรรมสัมพันธ์คำสอนที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งตรัสเกี่ยวกับกระบวนสภาวปัจจยธรรม ที่ปรากฏในรูปอริยสัจสี่ ซึ่งพุทธทาสภิกขุได้นำมากล่าวเพื่อความชัดเจนตามกระบวนแห่งปฏิจสมุปบาทธรรม ประเด็นการตีความลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปฏิจจสมุปบาท ที่นำมากล่าวอธิบายให้ทราบถึงปัจจัยอิงอาศัยให้เกิดสัสสตทิฐิ เป็นเหตุเกิดกระแสอิทัปปัจจยตา ยึดมั่นถือมั่นตามธรรมดาที่เป็นไปเพื่อทุกข์
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การตีความหลักปฏิจจสมุปบาทตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุนั้น มีประเด็นความสัมพันธ์และการตีความทางเนื้อหาสาระเหมือนกับหลักปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎก และคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันกับหลักปฏิจจสมุปบาทในพระไตรปิฎกและวิสุทธิมรรคในประเด็นที่ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือภาวะแห่งธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นและดับไป ตามหลักที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ จึงดับ หรือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...
ส่วนผลการศึกษาในประเด็นของการตีความของพุทธทาสภิกขุ ที่แปลกออกไปทางด้านการใช้สำนวนภาษาที่เป็นสื่อในการอธิบายเนื้อหาสาระ จุดเน้น วิธีการและรายละเอียดบางประการแตกต่างจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากการศึกษาวิจัยทำให้ทราบว่า การตีความที่เหมือนและแตกต่างกันนั้น ทำให้มองเห็นความหลากหลายของแนวคิดที่บุคคลต่าง ๆตีความหมาย อธิบายเหตุปัจจัย ไม่ว่า จะเป็นการใช้สำนวนภาษาหรือความเห็นของแต่ละบุคคลที่มีพื้นฐานทางการศึกษาและการปฏิบัติที่ต่างกัน จึงมีการตีความ อธิบายความไปในประเด็นต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสัสสตทิฐิสัมมาทิฐิ และอุจเฉททิฐิตามพื้นฐานความคิดที่ตนเข้าใจลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยา
Download : 255025.pdf