วิทยานิพนธ์นี้รจนาขึ้นเพื่อศึกษาคัมภีร์โมคคัลลานะด้านประวัติผู้แต่ง สมัยที่แต่งโครงสร้างเนื้อหา แนวทางการเขียนตำราไวยากรณ์ และคัมภีร์อธิบาย และเพื่อแปลสูตรการกในคัมภีร์โมคคัลลานะเป็นภาษาไทย อธิบายหลักไวยากรณ์ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับคัมภีร์กัจจายนะและสัททนีติปกรณ์ผลการวิจัยพบว่าคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์แต่งโดยพระโมคคัลลานะชาวสิงหล มีสำนักอยู่ที่ถูปารามเมืองอนุราธปุระ ในสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ หลังพุทธศักราช ๑๗๐๘ เนื้อหาแบ่งเป็น ๖ กัณฑ์คือ สัญญาทิกัณฑ์ สยาทิกัณฑ์ สมาสกัณฑ์ ณาทิกัณฑ์ ขาทิกัณฑ์ และตยาทิกัณฑ์ ภายหลังได้แต่งณวาทิกัณฑ์ขึ้นอีกคัมภีร์อธิบายคัมภีร์โมคคัลลานไวยากรณ์มี ๑๐ คัมภีร์ คือ โมคคัลลานปัญจิกาโมคคัลลานปัญจิกาทีปนี นิรุตติทีปนี ปโยคสิทธิ ปทสาธนะ ปทสาธนฎีกา สัมพันธจินตาสัมพันธจินตาฎีกา สารัตถวิลาสินี และสุสัททสิทธิการกมี ๖ คือ กัตตุการก กัมมการก กรณการก สัมปทานการก อวธิการก อาธารการกอการกมี ๑๒ คือ สัมพันธะ ลิงคัตถะ อาลปนะ สหาทิโยคะ เหตุ อิตถัมภูตลักขณะ วิเสสนะอัจจันตสังโยคะ กัมมัปปวจนียะ นิทธารณะ อนาทร และภาวลักขณะ สูตรการกในโมคคัลลาน-ไวยากรณ์มี ๓๙ สูตร ในกัจจายนไวยากรณ์มี ๔๕ สูตร และในสัททนีติมี ๑๒๘ สูตรสูตรในคัมภีร์ทั้งสามนั้นแตกต่างกันโดยศัพท์ แต่เนื้อหาสอดคล้องกันโดยมาก ยกเว้นเรื่องสัมปทานการก โมคคัลลานไวยากรณ์ยึดตามแนวสันสกฤตว่า สัมปทาน หมายถึง ผู้รับสิ่งของที่เขาให้เพื่อบูชา และให้เพื่ออนุเคราะห์เท่านั้น ส่วนกัจจายนไวยากรณ์และสัททนีติปกรณ์ยึดตาม
Download : 255173.pdf