การศึกษาวิจัยเรื่อง"รูปแบบการจัดการขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี ศึกษาวิเคราะห์กรณีลุ่มน้ำแม่ตาช้าง
จ.เชียงใหม่"นั้น ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้ ๓ ประการด้วยกัน กล่าวคือเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง และรูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธีตามที่ปรากฎในคัมภีร์พระไตร ปิฎิกและอรรถกถา เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความขัดแย้ง และรูปแบบในการจัดการความขัดแย้ง โดยสันติวิธีในลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่ และเพื่อนำเสนอแนวทาง และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับ "รูปแบบการจัดการ ความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี ให้เกิดขึ่นในสังคมไทยปัจจุบัน
จากการศึกษาวิเคราะห์ความขัดแย้ง และรูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธีตามที่ปรากฎ
ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา พบวาในระดับโลกิยวิสัยนั้น พระพุทธศาสนามองว่าความขัดแย้ง จัดได้ว่าเป็น ทุกข์ หรือเป็นธรรมชาติที่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น(Necessity) ของบุคคลและสังคมประหนึ่งแต่ในระดับโลกุตระนั้น พระพุทธศาสนามองว่าเป็นสภาวะที่ไร้ความขัดแย้ง สำหรับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งพระพุทธศาสนายอมรับว่าเกิดจากการทำงาน ร่วมกันระหว่างปัจจัยภายใน คือ กุศลมูล และอกุศลมูล รวมถึง ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ ผนวกและปัจจัยภายนอก คือ ข้อเท็จจริงความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ ค่านิยม และโครงสร้างที่บิดดบี้ยว ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้นำเสนอชุดของสันติวิธี ในการจัดการในการจัดการการขัดแย้งซึ่งประกอบไปด้วยเจรจากันเอง การไกล่เกลี่ยคนกลาง การตั้งคณะกรรมการไต่สวน การพิจารณาตัดสินโดยสังฆสภา ซึ่งกลยุทธ์
Download : 254818.pdf |