การประยุกต์ใช้พุทธธรรมในการบำบัดโรคจิตเภท มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ เพื่อศึกษาปัญหาความสำคัญ และการบำบัดโรคจิตเภท เพื่อศึกษาหลักธรรมสำหรับใช้บำบัดโรคทางใจในพระพุทธศาสนา และเพื่อประยุกต์ใช้พุทธธรรมในการบำบัดโรคจิตเภทกับแนวการรักษาตามจิตเวช ศาสตร์ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาความสำคัญของโรคจิตเภท เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของการทำหน้าที่ของจิตใจและอารมณ์ที่พบ มากที่สุดในบรรดาโรคจิตทั้งหมด เป็นโรคจิตที่ก่อปัญหาแก่มวลมนุษยชาติ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน สังคม การสาธารณสุข และเศรษฐกิจระดับประเทศ การบำบัดโรคจิตเภทอาจใช้วิธีการหลัก ๓ ประการ ผสมผสานกันคือ (๑) การรักษาทางกาย เช่น รักษาด้วยยา ช๊อกไฟฟ้า (๒) การรักษาทางจิตใจ เช่น การทำจิตบำบัด และ(๓) การรักษาทางสังคม เช่น ครอบครัวบำบัด นิเวศน์บำบัดวิธีการรักษาโรคทางใจในพระพุทธศาสนา คือ การใช้โยนิโสมนสิการ เป็นการพิจารณาหาเหตุผล พร้อมกับการรู้จักแก้ปัญหา ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง การใช้สมาธิบำบัด เช่น อานาปนสติการเจริญสติปัฏฐาน การเจริญเมตตา การคบหากัลยาณมิตร เพื่อสงบระงับนิวรณ์กิเลสจนทำให้เกิดปิติสุข การประยุกต์ใช้พุทธธรรมในการบำบัดโรคจิตเภท สามารถทำได้กับผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น หรือสามารถรับรู้ข้อมูลได้ หลักพุทธธรรมที่จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิค นักสังคมสงเคราะห์ สามารถเลือกมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยได้ดี คือ นักจิตวิทยาคลินิคมุ่งรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยจิตเภท รวมทั้งครอบครัวบำบัดหรือนักสังคมบำบัด รวมทั้งหลักพุทธธรรม เช่น โยนิโสมนสิการ พุทธลีลาในการสอน ปมาณิก ๔ จริต ๖ ที่พระพุทธองค์ทรงใช้บำบัดโรคทางใจแก่สาวกซึ่งสอดคล้องกับการรักษาของ จิตแพทย์ตามแนวจิตบำบัดในยุคปัจจุบัน เช่น การทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง(Supporttive therapy) การทำจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์(Satir therapy) และการทำจิตบำบัดแบบ Cognitive behavior therapy (CBT) Download : 254926.pdf