คัมภีร์ปฐมสมโพธิเป็นคัมภีร์ที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระ พุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา ฉบับในล้านนาเป็นสำนวนที่เก่าที่สุด มี ๙ ปริจเฉท ต่อมาสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ได้แต่งเพิ่มเติมอีกหลายสำนวนเพราะยุคสมัยนั้นการฟังเทศน์ชอบฟังพุทธประวัติ เป็นเทศน์ทำนองในวันสำคัญ ทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มุ่งที่จะตรวจชำระคัมภีร์ปฐม สมโพธิภาษาบาลีสำนวนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสที่รวบรวมสำนวนเก่าเข้าด้วยกัน เพิ่มสิ่งที่สำคัญเข้าไปโดยอาศัยหลักฐานจากพระบาลีพระไตรปิฎก อรรถกถา และปกรณ์อื่นๆมาเปรียบเทียบกัน ได้เป็นปฐมสมโพธิที่รู้จักแพร่หลายมาถึงปัจจุบันอันเป็นปรีชาสามารถในทาง ภาษาบาลีของพระองค์อย่างยิ่งเนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้แบ่งออกเป็น ๔ บท คือ : บทที่ ๑ เป็นบทนำ กล่าวถึงความสำคัญของพุทธประวัติและของปัญหาวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีการวิจัย และประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย บทที่ ๒ ว่าด้วยการศึกษาวิเคราะห์และ เปรียบเทียบคัมภีร์ปฐมสมโพธิอักษรขอม ล้านนาโรมัน มอญ ไทย ตามที่จะค้นได้ในด้านต่างๆ คือ เนื้อหา ลักษณะภาษา สำนวนโวหาร วิธีจารข้อผิดพลาด และไวยากรณ์ บทที่ ๓ ว่าด้วยคัมภีร์ปฐมสมโพธิที่ชำระแล้ว โดยยึดเอาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นต้นฉบับตรวจสอบ บทที่ ๔ ว่าด้วยบทสรุปและข้อเสนอแนะผลของการวิจัยพบว่า สำนวนภาษาบาลีฉบับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสที่เป็นฉบับสุดท้าย การตรวจชำระและการแต่งเพิ่มขึ้นมานั้นแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการแต่งภาษา บาลีและความศรัทธาเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติในประเทศไทยมีอิทธิพลมาก จึงได้แสดงออกมาทางภาษาเขียน. Download : 254924.pdf