Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระมนตรี สุปุติโก (บุตรดี)
 
Counter : 19989 time
การศึกษาเปรียบเทียบจริยศาสตร์ของอาริสโตเติลกับพุทธจริยศาสตร์ (๒๕๓๘)
Researcher : พระมนตรี สุปุติโก (บุตรดี) date : 17/08/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
Committee :
  พระมหาสมชัย กุสลจิตโต
  ผู้่ช่วยศาสตราจารย์อรรถจินดา ดีผดุง
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพร สุขเกษม
Graduate : ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๘
 
Abstract

บทคัดย่อ
           จุดประสงค์ในการค้นคว้าวิจัยเชิงเอกสารเพื่อเปรียบเทียบระหว่างจริยศาสตร์ของอาริสโตเติลกับพุทธจริยศาสตร์ สำหรับจริยศาสตร์ของอาริสโตเติลใช้หนังสือนิโคมาเชี่ยนเอกทิคส์เป็นหลัก ในขณะที่พุทธจริยศาสตร์เน้นความสำคัญที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก

          จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความดีสำหรับมนุษย์ในทรรศนะของอาริสโตเติลก็คือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์มุ่งแสวงหาความดีชนิดนี้ได้แก่ยูไดโมเนีย อาจเข้าใจผิดบ้างสำหรับผู้แปลคำนี้ว่า ความสุข แท้จริงแล้วยูไดโมเนียเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของมนุษย์ให้บริบูรณ์ความหมายนี้เป็นความหมายที่อาริสโตเติลอธิบายในเชิงอภิปรัชญาหมายถึงว่าเป็นหน้าที่ทีแสดงออกมาจากความสมบูรณ์ทางจิตใจในแง่หน้าที่การงานโดยสอดคล้องกับจิตวิญญาณที่ควบคุมเหตุผล จิตวิญญาณแห่งเหตุผลจึงเป็นส่วนหนึ่งของคุณธรรมทางปัญญา คุณธรรมทางปัญญาเกี่ยวข้องกับการไตร่ตรองเรื่องสัจจธรรมความจริงของสิ่งที่แน่นอนและเปลี่ยนแปลง คุณธรรมทางปัญญาจึงมี ๒ ลักษณะ คือ เป็นลักษณะความรู้หรืออาจเรียกว่าความรู้ในเชิงทฤษฎี และอีกประการหนึ่งคือ การปฏิบัติ หรือความรอบรู้ในเชิงปฏิบัติ การกระทำที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นและอาจเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การค้นพบจุดหมายในการงานทั้งปวงด้วยการใช้เหตุผล นั่นหมายถึงว่ามันจะต้องมีวิธีการเพื่อมุ่งสู่จุดหมายนั้นซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของมนุษย์คืออยู่ไดโมเนียหรือความผาสุก อย่างไรก็ตาม คุณธรรมในระดับสูงสุดคือความรู้ในทางทฤษฎีซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์ทำหน้าที่ของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์

          จากการศึกษาในพระไตรปิฎกแสดงให้เห็นว่าชีวิตของมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยความทุกข์โดยมีรากเง่าของความทุกข์คือตัณหา ความหลุดพ้นจากความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ความหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิงพึงปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการนี้ ในสองประการแรกจะเป็นองค์มรรคที่เกี่ยวกับเรื่องความคิด เหตุผลทางปัญญาหรือกรอบความคิด อีกสามประการต่อมา เป็นเรื่องจริยธรรมความประพฤติที่มีความจำเป็น ในประการสุดท้ายเป็นเรื่องการฝึกฝนอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิเพื่อไตร่ตรองพิจารณาความจริงที่เป็นปรมัตถสัจจะจนเข้าถึงความสงบระงับและเห็นแจ้งในชีวิตตามความเป็นจริงจนบรรลุพระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ถือว่าเป็นบรมสุขหรือสุขอย่างยิ่ง

           สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นคือ หลักมัชฌิมาของอาริสโตเติลเป็นหลักที่สะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางด้านทฤษฎีและความรู้ทางด้านการปฏิบัติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ในทางพุทธศาสนาหลักมัชฌิมาปฏิปทายังมีรายละเอียดในเรื่องสมาธิ และองค์มรรคที่จะนำไปสู่การบรรลุความสมบูรณ์ยิ่ง
 

Download : 253803.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012