การศึกษาเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอุปมาอุปไมยที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และอุปมาอุปไมยที่ปรากฏในคำสอนของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ในบทบาทเรื่องการสอนหลายวิธี การสอนโดยวิธีการอุปมาอุปไมยนี้ถือว่าเป็นรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจคำสอน ในพระพุทธศาสนาและเป็นวิธีการที่จะอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย ผู้วิจัยได้เน้นในเรื่องของเนื้อหาในการอุปมาอุปไมย ความสัมพันธ์ในวิธีการใช้อุปมาอุปไมยในพระไตรปิฎกและในคำสอนของพระโพธิญาณ เถร (ชา สุภัทโท)การสอนโดยใช้เทคนิคแบบอุปมาอุปไมยของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นวิธีที่โดดเด่นกว่าครูบาอาจารย์ร่วมสมัย สรุปได้ดังนี้ ๑. การใช้อุปมาอุปไมยของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เน้นเรื่องของการเข้าถึงหลักธรรมโดยอาศัยองค์ประกอบที่จะนำสู่จุดหมายที่ สำคัญคือ บุคคล สถานที่ กาลเวลา หลักธรรม ๒. การใช้อุปมาอุปไมยของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นการอธิบายธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและสามารถขจัดความสงสัยได้ อย่างชัดเจน ๓. รูปแบบการใช้อุปมาอุปไมยของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นการประยุกต์ให้เหมาะกับบุคคล สถานที่ โอกาส สิ่งแวดล้อม และใช้หลักธรรมให้ถูกจริตผู้ฟัง๔. ในการใช้เทคนิคแบบอุปมาอุปไมย มีปรากฏตั้งแต่สมัยพุทธกาลและในภายหลังพุทธกาล คือในมิลินทปัญหาภายหลังพุทธกาล ๕๐๐ ปี และเป็นเทคนิคที่โดดเด่นที่ท่านพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นำมาประยุกต์ใช้ในสมัยปัจจุบัน ถือได้ว่าท่านได้นำเอาเทคนิคนี้ใช้ในการบรรยาย อธิบาย เทศนา และการตอบปัญหา เป็นวิธีที่ทำให้เนื้อหาของเรื่องที่ยกมานำเสนอในขณะนั้น ๆ มีน้ำหนักและเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจในคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ชัดเจน และลึกซึ้ง ทั้งความไพเราะ ความสละสลวย ความนุ่มนวล ของภาษา เป็นสิ่งที่ปรากฏเป็นลักษณะเฉพาะของการอุปมาอุปไมย
Download : 254855.pdf