วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทของอาจารย์สุจินต์ บริหารวน- เขตต์ในการเผยแผ่พุทธธรรม ทั้งรูปแบบและวิธีการในการสื่อสาระธรรม ตลอดจนความ สอดคล้องของบทบาทดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับหลักนิเทศศาสตร์และหลักพุทธ วิธีการสื่อสาระ ธรรม โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualititive Research) ผลการศึกษาพบว่า อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นผู้เผยแผ่พุทธธรรมที่มี ประสบการณ์มานานกว่า ๔๐ ปี เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระไตรปิฎกและอรรถกถา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของพระอภิธรรม ซึ่งว่าด้วยสภาวะของปรมัตถธรรมที่สุขุมลุ่มลึก มีผล ให้ทัศนคติที่มีต่อพระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไปสู่ความศรัทธาที่มั่นคง และด้วยทัศนคติต่อ ตนเองในฐานะอุบาสิกาที่มีความตั้งใจที่จะเผยแผ่ธรรม จึงเห็นว่าการศึกษาและเผยแผ่พุทธธรรม เป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรให้ความสำคัญ ไม่ใช่เฉพาะเป็นหน้าที่ของบรรพชิตเท่านั้น แต่คฤหัสถ์ก็ควร กระทำตามกำลังสติปัญญาด้วย ส่วนทัศนคติของอาจารย์สุจินต์ที่มีต่อผู้ฟังนั้นก็เป็นไปด้วยความ เมตตา ในฐานะกัลยาณมิตรที่ช่วยชี้ทางธรรมให้แก่ผู้อื่นด้วย ความรู้ทางโลกและทางธรรม รวมทั้งทัศนคติที่ดีในด้านต่างๆ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมทักษะ ของอาจารย์สุจินต์ในการสื่อสาระธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัจนสาระธรรมที่สื่อภาษาทั้งไทยและอังกฤษ เป็นอย่างดี การใช้ถ้อยคำเป็นไปอย่างสุภาพ มีความกระชับ หนักแน่น ได้ใจความชัดเจน ตามความหมายของธรรม สามารถถ่ายทอดสาระจากธรรมในทุกระดับให้เป็นที่เข้าใจได้ไม่ยากรวมถึงอวัจ นสาระธรรมซึ่งเห็นได้ถึงบุคลิกภาพที่อ่อนน้อม กิริยามารยาทที่สำรวม การออกเสียงที่ ถูกอักขระวิธี และน้ำเสียงไพเราะชวนฟัง ตลอดจนได้ทราบชัดถึงพื้นฐานความเข้าใจธรรมของ ผู้ฟัง การสื่อสาระธรรมในฐานะของคฤหัสถ์จึงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสถานภาพ ระบบสังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคปัจจุบัน สาระแห่งพุทธธรรมทุกระดับที่อาจารย์สุจินต์ได้นำมาแสดงนั้น สามารถเชื่อมโยงถึงการเจริญวิปัสสนาและข้อปฏิบัติแห่งสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา โดยการค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ พุทธธรรมทุกระดับนั้นสามารถประพฤติปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากไม่มีสิ่งใดเลยในโลก และชีวิตที่ไม่ใช่ธรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในธรรมของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ว่ามีมากน้อย เพียงใดอาจารย์สุจินต์ได้สื่อสาระธรรมด้วยรูปแบบต่างๆ โดยเริ่มจากสื่อบุคคล คือการพัฒนา ตนเองในด้านทักษะ ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจในผู้ฟัง ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏ ให้ทราบโดยผ่านสื่อระหว่างบุคคล ด้วยวิธีการในการสื่อสาระธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย ธรรม การสนทนาและตอบปัญหาธรรมตามหลักพุทธวิธีฯ รวมถึงการเผยแผ่พุทธธรรมทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ศรีลังกา กัมพูชา อินเดีย ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา สำหรับสื่อมวลชนนั้นถูกนำมาใช้เป็นเพียงส่วนขยายช่องทางการเผยแผ่พุทธธรรม ให้กว้างไกล เพิ่ม ความสะดวกและเหมาะสมแก่ผู้ฟังมากยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นหลัก รองลงมาก็คือ สื่ออินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังมีสื่ออื่นๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทปและซีดีบันทึกเสียง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับหลักนิเทศศาสตร์และหลักพุทธวิธีการสื่อสาระธรรม บทบาทของอาจารย์สุจินต์มีความสอดคล้องกับทุกองค์ประกอบของหลักนิเทศศาสตร์ ในขณะที่ แนวคิดพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของอาจารย์สุจินต์ ทั้งในส่วนของความรู้ความเข้าใจ บุคลิกภาพ ในฐานะผู้ส่งสาร สาระธรรม สื่อที่ใช้ รวมทั้งการคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับสาร สิ่งเหล่านี้ อาจารย์สุจินต์ได้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องด้วยดีกับหลักพุทธวิธีการสื่อสาระ ธรรม บทบาท ดังกล่าวจึงเป็นไปอย่างเหมาะสมตามควรแก่สถานะของคฤหัสถ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ พุทธธรรม
Download : 254813.pdf