Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระวันชัย ธนวํโส (กัณหะกาญจนะ)
 
Counter : 21047 time
ลักษณะทางจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา(๒๕๔๘)
Researcher : พระวันชัย ธนวํโส (กัณหะกาญจนะ) date : 20/07/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
Committee :
  พระสุธีวรญาณ
  พระศรีสิทธิมุนี
  ดร.อ้อมเดือน สดมณี
Graduate : 02 / 2548
 
Abstract

     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ คือ
(1) เพื่อเปรียบเทียบโรงเรียนที่ประเภทแตกต่างกัน (โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โรงเรียนสามัญ) และโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน (ใหญ่ เล็ก) โดยจะศึกษาว่านักเรียนมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมแตกต่างกันหรือไม่
(2) เพื่อศึกษาว่าประเภทโรงเรียน (โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โรงเรียนสามัญ) ขนาดโรงเรียน (ใหญ่ เล็ก) และลักษณะทางสังคมที่แตกต่างกัน (การรับรู้บทบาทการเรียนการสอนของครู การได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดา) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนหรือไม่
(3) เพื่อศึกษาว่าประเภทโรงเรียน (โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โรงเรียนสามัญ) ขนาดโรงเรียน (ใหญ่ เล็ก) และลักษณะทางจิตที่แตกต่างกัน (ทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนหรือไม่ และ
(4) เพื่อศึกษาหามูลเหตุที่แท้จริงของการเกิดพฤติกรรมเชิง จริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ คือ การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 1, 2 และ 3 ส่วนการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อ 4 ดังนั้น
     การดำเนินงานจึงแบ่งเป็น 2 ตอน คือการดำเนินงานตอนที่ 1
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ 4 ตัวแปร คือ ลักษณะทางสังคม 2 ตัวแปร ได้แก่ (1) การรับรู้บทบาทการเรียนการสอนของครู (2) การได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดา ลักษณะทางจิต 2 ตัวแปร ได้แก่ (3) ทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (4) ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน โดยมีตัวแปรแบ่งกลุ่ม คือ ประเภทโรงเรียนและขนาดโรงเรียน
กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนสามัญขนาดใหญ่และเล็ก จำนวน 459 คน โดยใช้เครื่องมือวัดคือแบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและสามทางตาม ลำดับ (Two-way and Three-way ANOVA)
การดำเนินงานตอนที่ 2
ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกของชุมชนโรงเรียนการกุศล ของวัดในพระพุทธศาสนา คือ นักเรียน ครู บิดามารดาหรือผู้ปกครอง จำนวนรวม 74 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) และการทำสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ทั้งนี้ เพื่อที่จะค้นหาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบแนวคิดของการวิจัยในการดำเนินงานตอนที่ 1 โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการแปลความหมายข้อมูล
การวิจัยตอนที่ 1 พบผลดังนี้
1. นักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่และเล็ก มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนของโรงเรียนสามัญขนาดใหญ่และเล็ก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาด้วยกัน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาขนาดเล็ก มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธ ศาสนาขนาดใหญ่
2. นักเรียนในกลุ่มที่รับรู้บทบาทการเรียนการสอนของครูสูง มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนในกลุ่มที่รับรู้บทบาทการเรียนการสอน ของครูต่ำ
3. ในโรงเรียนขนาดเล็ก และในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดาสูง เหมือนกัน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนของโรงเรียนสามัญ ในทางกลับกัน ในโรงเรียนขนาดใหญ่ และในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดาต่ำ เหมือนกัน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนของโรงเรียนสามัญ
ในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดาสูง มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนา จากบิดามารดาต่ำ
4. ในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และในกลุ่มนักเรียนที่มีทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงเหมือนกัน พบว่า นักเรียนของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนของโรงเรียนสามัญ
ในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน พบว่า นักเรียนที่มีทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูง มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนที่มีทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ต่ำ
5. นักเรียนในกลุ่มที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนาสูง มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมสูงกว่านักเรียนในกลุ่มที่มีความเชื่อทางพระพุทธ ศาสนาต่ำ
การวิจัยตอนที่ 2 พบผลดังนี้
ในกลุ่มนักเรียน พบเห็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญ 4 ปัจจัย คือ (1) ทัศนคติต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (2) การได้รับการถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนาจากบิดามารดา (3) ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และ (4) ลักษณะทางพระพุทธศาสนา
ในกลุ่มครู พบเห็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญ 4 ปัจจัย คือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียน (3) ลักษณะทางพระพุทธศาสนา และ (4) การเป็นแบบอย่างหรือตัวแบบ
ในกลุ่มบิดามารดาหรือผู้ปกครอง พบเห็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญ 4 ปัจจัย คือ (1) การถ่ายทอดทางพระพุทธศาสนา (2) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (3) ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา และ (4) ทัศนคติต่อการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสอน
Download : 254805.pdf

Download :
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012