งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวคิดตถตา และคำไวพจน์ที่เกี่ยวข้องตามปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฏกและอรรถกถา (2) ตถตาในทรรศนะของท่านทาสภิกขุ (3) การประยุกตืใช้แนวคิด ตกถา ในการแก้ปัญหาร่วมสมัย ผลการสึกษาวิจัยมีข้อสรุปที่สำคัญคือ 1.ตกถาในคัมภีร์พระไตรปิฏกและอรรถกถา ทำให้ผู้ศึกษารู้ว่าสังขารทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ 5 และวัตถุสิ่งของที่ไม่มี วิญยาณครอง เป็นตกถา ความเป็นเช่นนั่นเอง คือลักษณะที่ไม่มีใครเข้าไปเปลี่ยนแปลงกฏธรรมชาตินี้ได้ แต่สิ่งที่อยู่ใต้กฏได้แก่สังขารทั้งปวง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกฏไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด ในคำไวพจน์ อวิตถตา คือไม่คลาดเคลื่อนหรือไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น เป็น อนัญญถตา คือ ไม่เป็นอย่างอื่นหรือไม่เป็นไปโดยประการอื่น เป็นอิทัปปัจจยตา คือสังขารทั้งปวงเกิดขึ้นจากปัจจัย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น อย่างลอยๆไม่มีผู้บันดาลให้เกิดขึ้น มันเป็นไปตามเหตุปัจัยของมันอย่างนั้น Download : 254736.pdf