Mahachulalongkornrajavidyalaya University
MCU Home Search Contacts Study Events Site Map Thai/Eng
 
MCU

First Page » พระอุบล กตปุญฺโญ (แก้ววงษ์ล้อม)
 
Counter : 21047 time
การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของศีลที่มีต่อสังคมไทย (๒๕๓๗)
Researcher : พระอุบล กตปุญฺโญ (แก้ววงษ์ล้อม) date : 18/06/2010
Degree : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
Committee :
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
  พระมหามนตรี ขนฺติสาโร
Graduate : ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
 
Abstract

ศีลเป็นหลักความประพฤติทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพสุจริตโดยมีเจตนาเป็นเครื่องประพฤติงดเว้นจากทุจริต เพื่ออบรมจิตใจให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย การฝึกอบรมตนในทางที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกายกับใจ ศีลเมื่อประพฤติตรงตามหลักการสภาพจิตใจจะเป็นอิสระจากตัณหา  คุณธรรมที่มีฐานมาจากศีลย่อมมีคุณค่าที่รักษาและส่งเสริมคุณภาพของจิตใจ ประโยชน์ที่ต้องการจากศีล คือการควบคุมความประพฤติ ป้องกันไม่ให้ตกไปสู่ความชั่ว จิตใจสงบจากกิเลส เป็นสมาธิที่ส่งคุณค่า สนองปัญญาที่เกื้อกูลแก่การกำจัดอวิชชา และความบริสุทธิ์หลุดพ้น ดังนั้น ศีลจึงเป็นหลักความประพฤติที่ต่อเนื่องกันตามเหตุผล เป็นระบบจริยธรรม เพราะผู้ปฏิบัติจะประพฤติได้ถูกต้องก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานอยู่ด้วยการปลูกฝังให้มีศีลด้วยการเรียนรู้มีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีการสั่งสอนที่ถูกต้องก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานอยู่ด้วยการปลูกฝังให้มีศีล ด้วยการเรียนรู้มีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี การสั่งสอนที่ถูกต้องนำหลักการมาประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความไม่ประมาท
           ศีลในทางด้านสังคม ซึ่งมุ่งเน้นฝ่ายของวินัยย่อมครอบคลุมการจัดระเบียบด้านนอกทั้งหมดรวมถึงข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ขนบธรรมเนียมและข้อปฏิบัติ กิจการทั้งหลายของหมู่ชน ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และสภาพที่ควรจัดได้ให้ความสัมพันธ์กับด้านจิตใจส่งผลออกมาสู่สังคม คุณค่าของศีลทางสังคม คือ สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมด้วยการปรับการแสดงออกทางกาย  วาจา ให้เรียบร้อยเกื้อกูลในความเป็นอยู่ร่วมกันด้วยดี จิตใจของสมาชิกในสังคมประกอบด้วยเมตตาและกรุณามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ทำให้เกิดสภาพความเป็นอยู่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติกิจต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงจุดหมายที่ดีงามโดยลำดับจนถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต ศีลจึงมีความเข้มงวดกวดขัน เคร่งครัด หยาบ ประณีต ด้วยเหตุผลที่ต้องสัมพันธ์เกื้อกูลในการปฏิบัติธรรม นั่นคือความสงบใจเป็นไปเพื่อสมาธิ แม้เพียงศีล ๕  ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง ก็จัดว่าเป็นผู้มีศีลอย่างบริบูรณ์สำหรับสมาชิกในสังคมปัจจุบัน

Download : 253612.pdf
 
 
Copyright © Mahachulalongkornrajavidyalaya University All rights reserved 
Maintained by: webmaster@mcu.ac.th 
Last Update : Thursday February 9, 2012