วิทยานิพนธ์นี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาแนวความคิดเรื่องวิญญาณในทรรศนะของท่านพุทธทาสกับอาริสโตเติล เพื่อที่จะหาคำตอบเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องวิญญาณ และเพื่อจะตอบปัญหาแนวความคิดเรื่องวิญญาน ตามทรรศนะของท่านพุทธทาสกับอาริสโตเติล ในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อหาสาระของงานวิจัยออกเป็น ๕ บท ซึ่งแต่ละบทจะอธิบายถึงเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษา ดังนี้ บทที่ ๑ กล่าวถีงความสำคัญ และความเป็นมาของปัญหาที่จะต้องศึกษา บทที่ ๒ กล่าวถึงทรรศนะบริบททั่วไปแนวความคิดเรื่องวิญญาณของท่านพุทธทาส บทที่ ๓ กล่าวถึงทรรศนะบริบททั่วไปแนวความคิดเรื่องวิญญาณของอาริสโตเติล บทที่ ๔ กล่าวถึงการนำแนวความคิดเรื่องวิญญาณทั้งนทรรศนะของท่านพุทธทาสและของอาริสโตเติล ที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ ๒,๓ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความสอดคล้องคล้ายคลึง และความแตกต่างของแนวความคิดเรื่องวิญญาณทั้งสองฝ่าย และเป็นการหาข้อสรุปที่แท้จริงว่า แนวคิดเรื่องวิญญาณของท่านพุทธทาสกับอาริศโตเติลเป็นวิญญาณนิยมหรือไม่ รวมไปถึงนำกรอบความคิดเรื่องวิญญาณของท่านทั่ง ๒ ไปใช้เป็นกฎเกณฑ์ตัดสินปัญหาจริยธรรมบางประการและศึกษาถึงอิทธิพลของแนวความคิดเรื่องวิญญาณที่มีต่อสังคมในด้านต่างๆด้วย บทที่ ๕ กล่าวถึงผลสรุปที่ได้ศึกษาวิจัยมาทั้งหมดพร้อมทั้งบทวิจารณ์ และข้อเสนอแนะในการนำปัญหาที่ยังไม่ได้ศึกษาไปค้นคว้าต่อไป จากการศึกษาวิจัยทั้งหมด ผู้วิจัยได้พบข้อสรุปอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องวิญญาณในรรศนะของท่านพุทธทาสกับอาริสโตเติล ดังนี้ ๑.คำว่า วิญญาณในทรรศนะของท่านพุทธทาส หมายถึง ความรู้แจ้ง รู้แจ้งวิเศษและสิ่งที่ควรรู้แจ้ง(นิพพาน)หรือแปลว่า สิ่งที่ควรพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงขั้นสามารถสัมผัสอายตนะสูงสุดคือนิพพาน และสามารถปรุง หรือพัฒนาเป็นวิญญาณถึงขั้นอิสระเสรีได้ และมีฃ ลักษณะอาการอยู่ ๓ ประการ คือ ๑.๑ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และก็ดับสลายไปในที่สุด ๑.๒ หลอกลวงให้หลงเข้าใจไปว่าเป็นดัตตาหรือตัวตน ทั้งที่เป็นเพียงวิญญาณธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และมิใช่อัตตา หรือตัวตน ๑.๓ มีอาการเป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่อายตนะภายในทั้ง ๖ ๒.วิญญาณในทรรศนะของท่านพุทธทาสนั้นมีอยู่ ๓ ชนิด ๒.๑ วิญญาณที่ยังเป็นธาตุอยู่ตามธรรมชาติ ๒.๒ วิญญาณที่ปรุงแต่งมาโดยสังขาร สำหรับทำความรู้สึกทางอายตนะและมีชื่อตามอายตนะนั้นๆ ๒.๓ เมื่อว่าโดยส่วนย่อย แบ่งประเภทของวิญญาณไปตามชื่ออายตนะ 6 เช่น วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และ วิญญาณทางใจ การพัฒนาวิญญาณ หรือจิตภาวนา ย่อมมีประโยชน์แก่สังคมโลก และปัจเจกบุคคลเพื่อพ้นจากโทษทั้งปวงเกี่ยววิญญาณ ๓.คำว่า (Soul) ในทรรศนะของอาริสโตเติล หมายถึง ชีวิต ซึ่งเกิดมาจากการะประชุมกันของสสารเป็นสิ่งไรชีวิต สสารคือธาตู ๔ มาประกอบกันเข้าเป็นรูปร่าง แล้วต่อจากนั้น จึงจะมีวิญญาณเข้ามาสิงสถิตอยู่ นิทานกรีกโบราณบอกว่าวิญญาณดั่งเดิมของมนุษย์ อยู่ใน สภาพเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนกหรือแมลง และจากนั้นก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นคน รวมความว่าวิญญาณเป็นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งต่อมาวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ วิญญาณเป็นหลักของชีวิต (Life principle)ด้วย ซึ่งมีสถาวะต่างๆดังนี้ ๓.๑ภาวะนิรันดร ๓.๒ภาวะนามธรรมซื่งต่างกับร่างกายและแยกออกจากร่างกายได้ ๓.๓ภาวะที่ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ และคำว่า ชีวิต หมายถึง ความสามารถในการรับอาหารเจริญเติบโตและเสื่อมสลายไป ๔.วิญญาณในทรรศนะของอาริสโตเติลนั้นมี ๓ ชนิด ๔.๑มีลักษณะเคลื่อนไหวได้โดยตัวของมันเอง ๔.๒วิญญาณมีลักษณะโปร่งใส่(กายทิพย์) ๔.๓วิญญาณมีลักษณะเป็นธาตุรู้ คือการรับรู้สิ่งต่างๆที่ดำรงอยู่ ลักษณะเหล่านี้ทั้งหมดเป็นพื้นฐานของวิญญาณ ซึ่งมีลักษณะที่เที่ยงแท้ถาวรไม่มีการเสื่อมสลาย เป็นอมตะนิรันดร อีกประการหนึ่ง อาริสโตเติลบอกว่าวิญญาณที่ถูกฝ๊กฝนอบรม หรือพัฒนาขึ้นนั้นย่อมมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายเลว ลักษณะนิสัยฝ่ายดีเรียกว่า คุณธรรม (Virtue)ส่วนลักษณะนิสัยฝ่ายเลวเรียกว่า (Vice)โดยที่อาริสโตเติลเห็นว่ามนุษย์ควรบรรลุเป็าหมายคือคุณธรรม อาริสโตเติลได้แบ่งคุณธรรมออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑)คุณธรรมด้านพุทธิปัญญา (Intellectual Virtues) หมายถึงความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งสากลและเพื่อการคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคิดค้นหาความจริงเช่นนี้เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน ต้องอาศัยปัญญาภาคทฤษฎี (Theorectical Wisdom)(๒)คุณธรรมด้านศิลธรรม (Moral Virtues)หมายถึงความสามารถในการเลือกทำความดี เกิดจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติจนเป็นนิสัย คุณธรรมเป็นผลของนิสัยนั้นอาริสโตเติลหมายถึงคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถประพฤติดีปฏิบัติชอบทั่วไปในชีวิตจริง ๕.เมื่อนำแนวความคิดเรื่องวิญญาณของท่านพุทธทาสไปเปรียบเทียบกับแนวความคิดเรื่องวิญญาณของอาริสโตเติล และก็ได้ข้อสรุปว่า แนวความคิดเรื่องวิญญาณของท่านพุทธทาสมีความสอดคล้องคล้ายคลึง และแตกต่างกันทั้งในด้านสมมติสัจจ์ และปรมัตถสัจจ์ หรือโดยหลักการและรายละเอียด ๒ ประเด็นคือ (๕.๑)ด้านศิลธรรม(สมมติสัจจ์)ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมโลกมีไว้เพื่อความสามัคคี และเป็นสุขแก่ชาวโลกเอง ถ้าชาวโลกขาดศิลธรรมก็จะต้องพบกับความพินาศอย่างมไม่ต้องสงสัยประเด็นนี้มีความสอดคล้องกับทรรศนะของอาริสโตเติล (๕.๒)ด้านปรมัตถสัจจ์คือด้านรายละเอียดอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ที่เป็นปัจเจกชนคือนิพพานประเด็นนี้จะมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า สรรพสิ่งทั่งปวงมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป(ยกเว้นนิพพาน)น้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกฏไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่อาริสโตเติลกล่าวว่า วิญญาณเป็นอมตนิรันดร