(บทความวิจัย)
ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา
A Study of Concepts and Principles of Buddhist Dissemination
๐f Thai Buddhist Missionaries in the United State of America
Asst. Prof. Dr.Phramaha Suriya Varamedhi
พระมหาสุริยา วรเมธี
Phra Soravit Aphipanyo
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ
Asst. Prof. Dr. Prayoon Suyachai
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร สุยะใจ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Mahachulalongkornrajvidyalaya University
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ศึกษาแนวคิด เป้าหมายและวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัญหาและอุปสรรคของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรคือ กลุ่มผู้บริหารโครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้แก่สมัชชาสงฆ์ไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมพระธรรมทูต และจากพระธรรมทูตที่ปฏิบัติงานและเคยปฏิบัติงานเป็นพระธรรมทูตในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 100 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบบังเอิญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานทั้งปริมาณและคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า
1.แนวคิด วิธีการและเป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตเป็นไปตามหลักพุทธโอวาท แสดงธรรมให้เหมาะสมกาลเทศะ มีเหตุผล แสดงธรรมด้วยจิตเมตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ ไม่แสดงธรรมโดยยกตนข่มท่านและไม่เสียดสีข่มขู่ผู้อื่น เป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล ความสุข แก่บุคคลทั้งที่เป็นชาวพุทธและมิใช่ชาวพุทธ มุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคลในการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทางในการชี้นำบุคคลให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นศูนย์รวมจิตใจและกิจกรรมของชาวพุทธในต่างประเทศ โดยมีวิธีการเผยแผ่เพระพุทธศาสนา ได้แก่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ตั้ง หรือการจัดกิจกรรมภายในวัดเช่น การจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ การเทศน์ การปาฐกถา การเขียนบทความ การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกที่ตั้ง เช่น การสอน,บรรยายธรรมในสถานศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่อยู่นอกวัด การใช้เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน วิทยุโทรทัศน์หรือการจัดกิจกรรมทางศาสนานอกวัดเป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเครือข่าย เช่น การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การส่งต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายชาวพุทธทั้งฝ่ายฆราวาสและพระสงฆ์ (สมัชชาสงฆ์ไทย)
2. ปัญหาและอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น พระธรรมทูตยังไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนไปเผยแผ่ดีพอ ทำให้การสื่อสารกับคนในประเทศนั้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร ด้านองค์กรสงฆ์ที่มีส่วนในการดูแลพระธรรมทูตยังก็ไม่เข้มแข็งพอ จึงให้การสนับสนุนและดูแลได้ไม่ทั่วถึง แม้ปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรงแต่ก็ยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง เช่นศูนย์ควบคุมดูแลพระไปต่างประเทศก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตก็ทำหน้าอีกอย่าง อบรมพระธรรมทูตแล้วส่วนการคัดเลือกว่าพระสงฆ์รูปใดจะได้เดินทางไปประเทศไหนนั้นเป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง เมื่อผ่านเกณฑ์พิจารณาแล้วก็ต้องผ่านขั้นตอนในการขอหนังสือเดินทาง ขอวีซ่าเข้าประเทศ บางประเทศก็ยากมากและให้เวลาในการพำนักในประเทศนั้นๆ น้อยทำให้เกิดความไม่ต่อเรื่องในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกา ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหาร การจัดการและการปกครองสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยจัดตั้งสถาบันหรือวิทยาลัยพระธรรมทูต เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการพระธรรมทูต ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ควรได้รับมอบอำนาจจากมหาเถรสมาคม ให้สามารถเข้าไปดูแลเรื่องการคัดเลือก จัดส่งพระธรรมทูตฯ ไปประจำหรือทำงานในต่างประเทศ การดูแลเรื่องสวัสดิการ สุขภาพ การเดินทางไปเผยแผ่ การพิจารณาให้ความดีความชอบ และมาตรการลงโทษ พร้อมกันนี้ก็ควรมีบุคลากร และงบประมาณรับสนองงานด้านนี้อย่างเพียงพอ
ABSTRACT
The research on A Study of Concept and Principle in Disseminating Buddhism of Thai Buddhist Missionary Monks in the United States of America is a survey research with the objective in spreading the concept in disseminating Buddhism from Tipitaka, studying the concept, goal and the way of disseminating Buddhism of the Thai Buddhist missionary monks in the United States of America, including the study of problem and obstacle in disseminating Buddhism. For collecting data, the researchers use the questionnaire and interview in collecting data from the people such as a group of administrators of the project of overseas Thai missionary monks, consisting of the General Assembly of the Thai monks, the office responsible for training the Thai missionary monks and from 100 Thai missionary monks who are performing their duty and used to perform their duty as missionary monks in the United States of America. The data collecting has been done by way of random. The data analysis is used by the mixture of both quantitative and qualitative research.
The result of research is found as follows:
1. Concept, method and goal of disseminating Buddhism of the missionary monks are based on the principle of the Buddha’s teachings, preaching Dhamma suitable for the time and place, reasonability, preaching Dhamma with loving kindness, focusing on providing benefit to the listeners. Preaching Dhamma is neither because of desiring the offerings nor preaching Dhamma by the swagger. The objectives of disseminating Buddhism of overseas Thai missionary monks are for the benefit, support, happiness of the people who are Buddhists and non-Buddhists , focusing on developing the efficiency of the people in living their own life, using the principle and the teachings of the Buddha as the guideline for the others by not performing the carelessness in their life, being the center of hearts and the activities of Buddhist people in the United States of America in relation to the dissemination i.e., dissemination of Buddhism in their own place by organizing the activity in the temple such as activity in practicing meditation on the important days of Buddhism and the nation, Dhamma preaching, speech delivering, article writing, and premises arranging for religious ritual etc. and dissemination of Buddhism outside the temple such as Dhamma preaching in the educational institute, public and private agency located outside the temple, using communication technology, radio and television or organizing the activity concerning the Thai culture at the meeting buildings etc., dissemination of Buddhism by using network i.e., organizing the academic activity, exchanging the way of practice in organizing the activity, forwarding the activity that is jointly useful for the temple or the agency concerned, making Buddhist network of lay people and the Sangha inside the affiliation and outside the affiliation of the General Assembly of the Thai Sangha.
2. The problem and obstacle of the dissemination of Buddhism in the United States of America are because some Buddhist missionary monks have less skills of English language and culture causing the problem in communicating with the people of this country and the Sangha Organization responsible for taking care of the Buddhist missionary monks is not strong enough causing that the support and supervision are not thorough. Even though at present time, there are many agencies responsible directly for supervision but not covered thoroughly such as the Controlling and Supervising Center for the Overseas Missionary Monks and the Buddhist Missionary Monks Training Office are working in the different way. When the Buddhist missionary monks have been trained, the selection of monks for going abroad is the duty of another office. When having passed the consideration criteria the missionary monks have to pass the process of passport and visa entry requirement that has to be waited for a long time and the permission for staying in the USA. is very short, bringing about the disconnection in disseminating Buddhism.
3. There should be the way in solving the problem in disseminating Buddhism of the missionary monks in the United Stated of America by exchanging knowledge on management and administration for the persons concerned at every level. Also, there should be the establishment of institute or missionary monks college for developing the personnel relating to the dissemination of Buddhism in foreign countries. The executive committees for the missionary monks affaires should be established and empowered from the Mahathera Association to enable them to supervise the selection of sending the missionary monks to work and perform the duty in foreign countries, and paying attention to the welfares, health, travelling for propagation, consideration of laurel and punishment measure. On the one hand, there should be the personnel and budget to support this work adequately.
|
บทนำ
พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับสังคมไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระสงฆ์ไทยมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคมเสมอมาทั้งระดับพื้นฐาน คือให้ความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมที่ประชาชนสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขเช่น หลักพรหมวิหาร หลักสังคหวัตถุ เบญจศีล เบญจธรรม หิริโอตตัปปะ และระดับหลักธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาจิตไปสู่ความพ้นทุกข์ ได้แก่การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงมีคุณค่าและประโยชน์สูงสุดที่จะนำพามนุษย์ให้สามารถใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันอย่างมีความสุข ทั้งยังมีความพิเศษมากกว่าหลักธรรมในศาสนาอื่นอีก นั้นคือพระพุทธศาสนามีคำสอนที่จะช่วยให้มนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนด้วยตนเอง จนสามารถก้าวสู่ความหลุดพ้นโดยไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา จึงถือว่าเป็นการเผยแผ่สิ่งที่ดีงามเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโลกโดยแท้ ดังพุทธพจน์ตอนที่พระพุทธองค์ส่งพระสาวกออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งแรกว่า “ จรถ ภิกขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย สเทว มนุสฺสานํ ” (มหาจุฬาเตปิตกํ วิ.มหา.1 เล่มที่ 4/27) ซึ่งหมายความว่า “ภิกษุทั้งหลาย จงเที่ยวไปสู่ที่จาริก เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” นี้คือเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ของการเผยแผ่ธรรม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์อยู่ในกำกับของรัฐ ได้ตระหนักต่อความสำคัญในด้านการส่งเสริมให้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ได้จัดให้มีการเปิดอบรมหลักสูตรการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับพระภิกษุ สามเณร และ คฤหัสถ์ ซึ่งเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ในสาขาธรรมนิเทศ และหลักสูตรการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตเลีย โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนับได้ 13 รุ่นแล้ว ใช้เวลาในการฝึกอบรมรวม 3 เดือน/รุ่น จนพระสงฆ์ทุกรูปมีความมั่นใจว่าสามารถไปปฏิงานเผยแผ่พระธรรมคำสอนในต่างประเทศได้ ขณะนี้มีเครือข่ายเผยแผ่พระธรรมคำสอนอยู่ทั่วโลก
สาเหตุที่ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้ เพราะว่า ได้รับรู้รับฟังปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสายต่างประเทศ ทั้งจากบุคคลทั่วไปที่สนใจในพระพุทธศาสนา และจากคณะผู้ดำเนินงานการอบรม ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือ พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 13 ว่า
“ในการไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศนั้น ความรู้ความสามารถมีด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่ไม่ค่อยบรรลุผลตามที่ต้องการ คงจะเกี่ยวกับปัญหาเรื่องยุทธศาสตร์ จึงทำให้มีปัญหาและอุปสรรคอื่นๆ มาก บางท่านเทศน์ดีสอนดีก็ยังอยู่ไม่ได้ ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะยังมีปัจจัยอะไรหลายอย่าง งานของพระธรรมทูตมีความละเอียดอ่อนมาก แถมยังถูกค่อนขอดว่าไปสอนเฉพาะกับคนไทยด้วยกัน เขาเอาเราไปเปรียบเทียบกับพระธรรมทูตธิเบต ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั้งศรีลังกา ที่ประสบผลสำเร็จมากกว่าในการเผยแผ่กับชาวต่างประเทศ ” (พระธรรมโกศาจารย์ 2549 : 221) จากปัญหาและอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยตระหนักถึงว่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสายต่างประเทศซึ่งยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนี้ มีผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาโดยตรง และโดยอ้อมก็คือ ผลกระทบที่มีต่อความมั่นคงความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ที่นับพระพุทธศาสนา กับผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆในต่างประเทศ เมื่อไม่สามารถทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ถูกต้อง ก็จะเป็นผลเสียหายต่อสังคมชาวพุทธ ความแปลกแตกแยกต่างระหว่างวัฒนธรรมความเชื่อความศรัทธา ความรู้สึกนึกคิดยิ่งห่างเหินกันมากเท่าใด ความเข้าใจผิดความแยกพรรคพวกก็เกิดขึ้นจนไม่สามารถนำพาสันติสุขสู่ประชาชนชาวโลกซึ่งอยู่ร่วมกันได้ ส่วนการที่ผู้ที่วิจัยเลือกเอา ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นพื้นที่ศึกษานั้น เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศมหาอำนาจใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม และเป็นประเทศที่มีความเจริญทางวัตถุสูงสุดมีวัดไทยอยู่ทั่วทุกมลรัฐของประเทศประมาณ 67 วัด มีพระธรรมทูตไทยปฏิบัติหน้าที่อยู่ประมาณ 400 รูป การสำรวจข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่ศึกษา จะทำให้ได้ภาพรวมของปัญหาอุปสรรคต่างๆในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ชัดเจน.
เครื่องมือและวิธีการศึกษา
การวิจัยเรื่อง ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ แนวคิดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ศึกษาแนวคิด เป้าหมายและวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัญหาและอุปสรรคของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากรคือ กลุ่มผู้บริหารโครงการพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ได้แก่สมัชชาสงฆ์ไทย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมพระธรรมทูต และจากพระธรรมทูตที่ปฏิบัติงานและเคยปฏิบัติงานเป็นพระธรรมทูตในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 100 รูป ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบบังเอิญ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสานทั้งปริมาณและคุณภาพ
ผลการศึกษา
จากการศึกษา ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ผลการศึกษาพบว่า
1.แนวคิด วิธีการและเป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตเป็นไปตามหลักพุทธโอวาท แสดงธรรมให้เหมาะสมกาลเทศะ มีเหตุผล แสดงธรรมด้วยจิตเมตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ ไม่แสดงธรรมโดยยกตนข่มท่านและไม่เสียดสีข่มขู่ผู้อื่น เป้าหมายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล ความสุข แก่บุคคลทั้งที่เป็นชาวพุทธและมิใช่ชาวพุทธ มุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคคลในการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทางในการชี้นำบุคคลให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นศูนย์รวมจิตใจและกิจกรรมของชาวพุทธในต่างประเทศ โดยมีวิธีการเผยแผ่เพระพุทธศาสนา ได้แก่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ตั้ง หรือการจัดกิจกรรมภายในวัดเช่น การจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ การเทศน์ การปาฐกถา การเขียนบทความ การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกที่ตั้ง เช่น การสอน,บรรยายธรรมในสถานศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่อยู่นอกวัด การใช้เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน วิทยุโทรทัศน์หรือการจัดกิจกรรมทางศาสนานอกวัดเป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเครือข่าย เช่น การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม การส่งต่อกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายชาวพุทธทั้งฝ่ายฆราวาสและพระสงฆ์ (สมัชชาสงฆ์ไทย)
2. ปัญหาและอุปสรรคการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น พระธรรมทูตยังไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนไปเผยแผ่ดีพอ ทำให้การสื่อสารกับคนในประเทศนั้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร ด้านองค์กรสงฆ์ที่มีส่วนในการดูแลพระธรรมทูตยังก็ไม่เข้มแข็งพอ จึงให้การสนับสนุนและดูแลได้ไม่ทั่วถึง แม้ปัจจุบันจะมีหลายหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรงแต่ก็ยังครอบคลุมได้ไม่ทั่วถึง เช่นศูนย์ควบคุมดูแลพระไปต่างประเทศก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตก็ทำหน้าอีกอย่าง อบรมพระธรรมทูตแล้วส่วนการคัดเลือกว่าพระสงฆ์รูปใดจะได้เดินทางไปประเทศไหนนั้นเป็นอีกหน่วยงานหนึ่ง เมื่อผ่านเกณฑ์พิจารณาแล้วก็ต้องผ่านขั้นตอนในการขอหนังสือเดินทาง ขอวีซ่าเข้าประเทศ บางประเทศก็ยากมากและให้เวลาในการพำนักในประเทศนั้นๆ น้อยทำให้เกิดความไม่ต่อเรื่องในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
3. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกา ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหาร การจัดการและการปกครองสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยจัดตั้งสถาบันหรือวิทยาลัยพระธรรมทูต เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการพระธรรมทูต ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ควรได้รับมอบอำนาจจากมหาเถรสมาคม ให้สามารถเข้าไปดูแลเรื่องการคัดเลือก จัดส่งพระธรรมทูตฯ ไปประจำหรือทำงานในต่างประเทศ การดูแลเรื่องสวัสดิการ สุขภาพ การเดินทางไปเผยแผ่ การพิจารณาให้ความดีความชอบ และมาตรการลงโทษ พร้อมกันนี้ก็ควรมีบุคลากร และงบประมาณรับสนองงานด้านนี้อย่างเพียงพอ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศควรกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้พระธรรมทูตในต่างประเทศนำวิธีการการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามหลักพุทธโอวาท กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ สร้างกลยุทธ์เครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระหว่างพระธรรมทูตและชาวพุทธในต่างประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
2. มหาวิทยาลัยสงฆ์และองค์กรร่วมมือฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ควรเพิ่มเติมเนื้อหาสารเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบเครือข่ายใช้หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทางในการชี้นำบุคคลให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นศูนย์รวมจิตใจและกิจกรรมของชาวพุทธในต่างประเทศ เช่น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ตั้ง หรือการจัดกิจกรรมภายในวัดเช่น การจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำคัญของชาติ การเทศน์ การปาฐกถา การเขียนบทความ การจัดสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกที่ตั้ง เช่น การสอน,บรรยายธรรมในสถานศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่อยู่นอกวัด
3. รัฐบาล ควรสนับสนุนส่งเสริมนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของมหาเถรสมาคมอย่างใกล้ชิด การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อดูแลกิจการพระพุทธศาสนาในต่างแดน การอำนวยความสะดวกให้พระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ได้สะดวก การสนับสนุนเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทุกรูปแบบ
4. สถานทูตในแต่ละประเทศที่มีพระธรรมทูตอยู่ ควรกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศที่พระธรรมทูตจะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของการคงอยู่ของวัดในต่างประเทศด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัด การจัดกิจกรรม และการสร้างความเข้าใจระหว่างชาวพุทธและชาวศาสนาอื่น
ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ
1. หน่วยงานฝึกอบรมพระธรรมทูต(สถาบันการศึกษาทางคณะสงฆ์) ร่วมกับ องค์กรพระธรรมทูตในต่างประเทศร่วมกันจัดทำหลักสูตรที่เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแต่ละพื้นที่(ประเทศ) เพื่อให้การปฏิบัติงานของพระธรรมทูตมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
2. รัฐบาลนำแนวนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคมมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยให้พระธรรมทูตเป็นสื่อกลางนำวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3. สร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรที่ดูแลพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โดยการสร้างระบบเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในแต่ละประเทศ ร่วมถึงระหว่างพระธรรมทูตต่างประเทศและพระสงฆ์ในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งกันและกัน
4. การวางกรอบภาระงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศให้เป็นเอกภาพ เช่น ศูนย์ควบคุมดูแลพระไปต่างประเทศ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต (มหาวิทยาลัยสงฆ์) หน่วยงานภาครัฐ ควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและวางกรอบขั้นตอนและการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของพระธรรมทูตทุกขั้นตอน
5. มหาวิทยาลัยสงฆ์ร่วมกับองค์กรคณะสงฆ์และหน่วยงานสนับสนุนควรหาแนวทางการจัดตั้งสถาบันหรือวิทยาลัยพระธรรมทูต เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานเผยแผ่พระศาสนาในต่างประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการพระธรรมทูต ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ควรได้รับมอบอำนาจจากมหาเถรสมาคม ให้สามารถเข้าไปดูแลเรื่องการคัดเลือก จัดส่งพระธรรมทูตฯ ไปประจำหรือทำงานในต่างประเทศ การดูแลเรื่องสวัสดิการ สุขภาพ การเดินทางไปเผยแผ่ การพิจารณาให้ความดีความชอบ และมาตรการลงโทษ พร้อมกันนี้ก็ควรมีบุคลากร และงบประมาณรับสนองงานด้านนี้อย่างเพียงพอ
6. พระธรรมทูตในต่างประเทศต้องทำงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะพระธรรมทูตภายในวัดต้องศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและวัฒนธรรม เพื่อขยายงานให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความองอาจและสามารถที่จะอธิบายธรรมะให้กับชาวต่างชาติได้ ขณะเดียวกันควรมีการสร้างเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบที่หลากหลายผ่านสื่อเทคโนโลยี Internet วิทยุหรือโทรทัศน์ ส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ศึกษาผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา
2. ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการวัดที่มีประสิทธิภาพในสหรัฐอเมริกา
3. ศึกษารูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในสหรัฐอเมริกา
4. ศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา
5. ศึกษาประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยไปต่างประเทศ
6. ควรเพิ่มจำนวนตัวอย่างที่สำรวจให้มากกว่านี้ทั้งฝ่ายพระธรรมทูตและฝ่ายฆราวาส
7. ประเมินผลการอบรมพระธรรมทูตก่อนและหลังเข้าอบรมและมีการติดตามการปฏิบัติงาน
8. ควรขยายผลการศึกษาไปสู่ประเทศอื่นๆ ที่มีพระธรรมทูตไปปฏิบัติงาน
|