อภิธรรมในสังคมไทย
ถ้ากล่าวถึงอภิธรรม สังคมไทยส่วนใหญ่มองว่า เป็นบทสวดในงานอวมงคลที่พระนำไปสวดในงานศพ เพื่ออุทิศบุญให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว ส่วนสาระของอภิธรรมเป็นอย่างไรนั้นเข้าใจว่า สังคมส่วนใหญ่ ทั้งพระผู้สวดและคนฟัง ส่วนมากคงไม่เข้าใจสาระที่สวดนั้น จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคุณค่าอภิธรรมในสังคมไทย คงเป็นแค่บทสวดเพื่อนำไปใช้ในงานอวมงคลเท่านั้น ซึ่งผู้สวดก็ไม่เข้าใจ คนฟังก็ไม่เข้าใจ คนตายก็ไม่รู้เรื่องด้วย แต่ถ้ามองในแง่มุมบวก อย่างน้อยก็เป็นสื่อกลางระหว่างคนเป็นที่มีความรักห่วงใยกับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว และอุทิศบุญกุศลที่เกิดจากสมาธิที่ได้ฟังบทสวดให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตด้านการศึกษาอภิธรรม ถ้าย้อนกลับไปสิบปีก่อน การศึกษาอภิธรรมนับว่าลำบากไม่น้อย อภิธรรมเป็นสถาบันหนึ่งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์(วัดมหาธาตุ) ผู้ที่มาศึกษาตั้งแต่จูฬอาภิธรรมิกะตรี ถึงมหอภิธรรมบัณฑิต ต้องเป็นผู้มีศรัทธาและความเพียรมาก เพราะผู้ที่จบไปแล้ว ไม่สามารถจะเทียบวุฒิการศึกษาได้ต่อมา ในยุคการบริหารของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสมัยแรก ท่านได้เห็นความสำคัญของอภิธรรมได้มีมติเทียบวุฒิการศึกษาให้ผู้ที่จบมัชฌิมะอภิธรรมิกเอก เทียบมัธยมศึกษาตอนปลาย และอภิธรรมบัณฑิต เทียบปริญญาตรี และมีการเปิดปริญญาตรีสาขา อภิธรรมขึ้น ทำให้วงการศึกษา ดูเนื้อหาฉบับเต็ม