ความนำ
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ศกนั้น แต่ก็มีการปฏิวัติรัฐประหาร ยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่หลายครั้ง จนมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช๒๕๕๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ในมาตรา ๓ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา
คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม”
อำนาจอธิปไตยที่ระบุไว้ในมาตรา ๓ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หมายถึง อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล
ตามลำดับรัฐธรรมนูญได้กำชับการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ ประการไว้ในวรรคที่ ๒ ของมาตรา ๓ นั้น ว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กร ตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ดูเนื้อหาฉบับเต็ม
|