มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒
จากแดนตักศิลา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ถึงตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา : วิสัยทัศน์มหาจุฬาฯ เพื่อความเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งโลก จุดเริ่มต้นแห่งแนวคิดการก่อสร้างมหาวิทยาลัย ณ สถานที่ใหม่เกิดขึ้นเมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๔๒ เมื่อนายแพทย์รัศมี-คุณนายสมปอง วรรณิสสร แจ้งความประสงค์ต่อพระราชพิพัฒน์โกศล (โกศล มหาวีโร) ว่า จะถวายที่ดินแก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต่อมา วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชพิพัฒน์โกศลแจ้งแก่พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดี วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชวรมุนี พระราชพิพัฒน์โกศลและคณะได้เดินทางไปดูสถานที่ซึ่งโยมจะมอบ ถวาย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ คุณนายสมปอง วรรณิสสร ดำเนินการโอน ที่ดินโฉนดที่ ๗๘๘๘ และ ๗๘๘๙ จำนวน ๘๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๑๘.๔๕ น. พระสุเมธาธิบดี(บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และคณะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าเฝ้าฯ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระตำหนักนนทบุรี เพื่อรับพระราชทาน โฉนดที่ดิน วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงราชวิทยาลัย อยุธยา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม มกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เวลา ๑๗.๐๐ น. เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างมหา-วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ สถานที่แห่งใหม่ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง กรรมการ ๒ คณะ ประกอบด้วย (๑) คณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทและโครงสร้างด้านวิชาการ มีพระมหาประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เป็นประธาน (๒) คณะกรรมการจัดทำโครงสร้างทางกายภาพ มีพระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธาน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔) วิสัยทัศน์ด้านงานจัดการศาสนศึกษา๑๐ ของมหาวิทยาลัยมีดังนี้