มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒
การสืบสานมรดกทางวิชาการ พระพุทธศาสนา : จากนาลันทาถึงมหาจุฬาฯ (๑) ยุคสมณะฟาเหียน-ยุคกรุง พนม มหาวิทยาลัยนาลันทาก่อตัวขึ้นครั้งแรกโดยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์ โมริยะ ต่อจากนั้น ผ่านยุคของราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาน และเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย สมบูรณ์ในราชวงศ์คุปตะ เจริญรุ่งเรืองในกระแสสังคมในยุคราชวงศ์ปาละ หลักฐานที่บอกว่า สมณะฟาเหียนเดินทางจากอินเดีย ไปศรีลังกาและผ่านเกาะชวาก่อนไปเมืองจีนนั้นเป็นข้อยืนยันได้อย่างหนึ่งว่า การสืบสานพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการจากนาลันทาถึงดินแดนที่เป็นเมืองไทยปัจจุบันมีมาตั้งแต่สมัย นาลันทายังรุ่งเรือง สมณะฟาเหียนจาริกผ่านเมืองไทยนี่เองก่อนกลับเมืองจีน ประเด็นสำคัญอยู่ที่คำว่า ชวา๔ ...ยวาทวีปของพระเจ้าสัญชัยต้องคือที่เคดะ-นครศรีธรรมราช เพราะว่าในเกาะชะวา ไม่มีเหมืองทองคำ และในเกาะชะวาไม่มีกุญชร ประเทศซึ่งสมบูรณ์ด้วยช้างรูปงาม แต่ที่เคดะ-นครศรีธรรมราช มีกองทัพ ช้าง มีช้างรูปงาม และคำว่า ยวาชวา เพิ่งจะมาใช้หมายถึงเกาะชะวา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๕๐ ก่อน จากนั้น ยวา หมายถึง คาบสมุทรมลายา ตอนเคดะ-นครศรีธรรมราชว่า พระจีนชื่อฟาเหียนโดยสารเรือใบ จากเกาะลังกา มายังยวาทวีปนั้น คือ ตรงมายังเกาะเคดะ ไม่ใช่ไปเกาะชะวา ว่าฟาเหียนเดินบกข้ามไปนครศรีธรรมราช จึงลงเรือไปเมืองจีน เพราะ สมัยนั้นโจรสลัดมีมากในช่องมะละกา... สมณะฟาเหียนจาริกจากเมืองจีนไปสืบพระศาสนาในอินเดีย พักจำพรรษาอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญคือ สาวัตถี ปาฏลีบุตร จัมปา รวมเวลาที่อยู่ในอินเดีย ๑๔ ปี เพื่อศึกษา ปริวรรต คัดลอกคัมภีร์ แม้จะไม่ได้กล่าวถึงนาลันทามหาวิหารโดยตรง แต่มีบันทึกหลายตอนที่บอกให้ทราบว่า การศึกษาพระพุทธศาสนาในวัด(มหาวิหาร) ในอินเดียยุคนั้น เจริญรุ่งเรืองมาก ท่าน ฟาเหียนเดินทางกลับเมืองจีนโดยทางเรือ ประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ คือ เพราะเหตุไร สมณะฟาเหียนซึ่งเดินทางเข้าอินเดียทางบก แต่กลับเมืองจีนโดยทางเรือ ? คำตอบมีหลายอย่าง แต่คำตอบหนึ่งที่น่าจะตรงที่สุดคือ เพราะทางเรือสะดวกกว่า เนื่อง จากเป็นเส้นทางค้าขาย มีผู้สัญจรอยู่เป็นประจำ ท่านฟาเหียนต้องนำคัมภีร์กลับไปจำนวนมาก การบรรทุกเรือจึงน่าจะสะดวกกว่าการใช้พาหนะทางบก และพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะสมัยเจ้าชายโกณฑัญญะ (เกาทิณยะ)ถึงสมัยพระ เจ้าชัยวรมันเทวะ (พ.ศ.๙๖๙-๑๐๕๗ โดยประมาณ)๕ พระพุทธศาสนาแผ่เข้าไปเมืองจีนยุคแรก โดยอาศัยพ่อค้าผู้สัญจรไปมาค้าขายระหว่างเอเชียกลางกับเมืองจีน ซึ่งเป็นทางบก แต่ทางเรือก็ไม่ควรมองข้าม เพราะการค้าขายทางเรือกับทางบกเจริญควบคู่กันมา สมัยที่สมณะฟาเหียนจาริกผ่านประเทศไทย จะอยู่ในยุคกรุงพนม รุ่งเรืองสมัยที่ ๒ (พ.ศ.๙๕๐-๑๐๕๐ โดยประมาณ) ที่มั่นสำคัญตามที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พระพุทธศาสนาแผ่จากอินเดียไปเมืองจีนโดยทางเรือ เป็นภาพที่ปรากฏให้เห็นเสมอ และก่อนที่จะถึงเมืองจีนต้องผ่านเมืองไทยก่อน กระแสความคิดทางพระพุทธศาสนาจึงไหลบ่าผ่านเมืองไทยตลอดมาไม่เคยว่างเว้นตั้งแต่สมัยพระ โสณเถระกับพระอุตตรเถระ เพราะนี่คือทางผ่าน นี่คือเส้นทางสายไหมแห่งการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางศาสนา (๒) ยุคสมณะเฮี่ยนจั๋ง-ยุครัฐ ทวารวดี สมณะเฮี่ยนจั๋งเดินทางจากเมืองจีนไปสืบพระศาสนาในอินเดียโดยทางไหน ไม่ปรากฏหลักฐานชัด ในเอกสารจีนบอกว่า เมื่อครั้งหลวงจีนยวนฉั่ง(เฮี่ยนจั๋ง)เดินทางมาแถบอ่าวไทย ได้อ้างถึงดินแดนชื่อว่า โตโลโปตี้หรือจุยล่อพัดตี้ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นรัฐในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ข้อความในบันทึกหลายแห่งกล่าวถึง สถานที่ในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยที่ท่านเฮี่ยนจั๋งเดินทางไปอินเดีย จะอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์คุปตะและช่วงต้นของราชวงศ์ปาละและตรงกับยุครัฐ(ศรี)ทวารวดีใน สุวรรณภูมิ (พ.ศ.๑๑๘๒- โดยประมาณ) ทวารวดี ตรงกับชื่อเรียกขานในเอกสารจีนหลาย ชื่อ๓ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ฉบับใหม่และฉบับเก่า เรียกว่า ตว้อเหอหลอ หรือ ตู๋เหอหลอ ประวัติสมณะซานจั้ง(ถังซำจั๋งหรือ เฮี่ยนจั๋ง) แห่งวัดต้าฉือเอินในราชวงศ์ไต้ถัง กล่าวถึงประเทศซึ่งอยู่ระหว่างศรีเกษตร(พม่าโบราณ) กับอีสานปุระ(ขอมโบราณ)ว่าประเทศ ตว้อเหลอปอตี่ ... ทวารวดีคือเมืองในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา คติความเชื่อยึดพระพุทธศาสนาเป็นแกนหลักโดยเฉพาะฝ่ายเถรวาท เป็นแหล่งสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างกระบวนการแพร่อารยธรรมอินเดีย พระพุทธศาสนามีส่วนกำหนดแบบแผนทางการเมือง สะท้อนออกในรูปของระบบกษัตริย์ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งพระโพธิสัตว์และพระเจ้าจักรพรรดิ และคติเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์นี้แพร่หลายในรัฐทวารวดี๔ การกล่าวถึงรัฐ ทวารวดีในเอกสารจีน มีนัย ๒ อย่างคือ (๑) ในฐานะเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรือง (๒) เป็นดินแดนที่เคยไปเยี่ยมเยือน สมณะเฮี่ยนจั๋งศึกษาอยู่ที่นาลันทา ๕ ปี เรียนวิชาพระพุทธศาสนาจนเชี่ยวชาญ ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษา พระพุทธศาสนาในระบบมหาวิทยาลัยจากนาลันทา จึงเชื่อได้ว่าท่านถ่ายแนวคิดนี้ในหลายที่ที่จาริกผ่านไป ไม่เฉพาะในเมืองจีนเท่านั้น เส้นทางสายไหมแห่งกระแสแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ระหว่างท่าเรือตามร- ลิปติบริเวณนครจัมปาแห่งแคว้นอังคะกับท่าเรือเมืองกวางตุ้งแห่งเมืองจีนก็ดี เส้นทางจากแคว้นอังคะไต่ลงมาตามที่ราบ ลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อมกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ดี เส้นทางสายไหมทั้ง ๒ สายนี้ล้วนแต่ต้องผ่านดินแดนไทยทั้งสิ้น๕ จึงเชื่อได้ ว่า ภาพแห่งพระพุทธศาสนาทั้งในระดับ จริยธรรมวิถีชีวิตและระดับวิชาการ ต้องปรากฏทั่วไปในบริเวณนี้ เนื่องจากไม่มีแอ่ง เชิงสถาบันการศึกษารองรับ กระแสความคิดเหล่านี้จึงเพียงแต่ลอยผ่านไปผ่านมา แม้กระทั่งปัจจุบันก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน (๓) ยุคสมณะอี้จิง-ปลายยุค พนมถึงยุคศรีวิชัย สมณะอี้จิงเดินทางจากเมืองจีนไปสืบพระศาสนในอินเดีย ปฏิบัติธรรมและเสาะหาพระคัมภีร์เป็นเวลา ๑๗ ปี ไปเยี่ยมชมและศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างน้อย ๒ แห่งคือนาลันทาและวลภี มีหลักฐานเชื่อได้ว่าท่านเดินทางไปและกลับโดยทางเรือ และทำให้แน่ใจว่าต้องผ่านดินแดนสุวรรณภูมิ ในระยะ พ.ศ. ๑๒๑๔-๑๒๓๘ มีภิกษุนักจาริกจีนชื่ออิ้จิง ได้เดินทางไปอินเดียได้มาพักอยู่ในนครโพธิทั้งขาไปและขากลับ ที่นครโพธิ ภิกษุอิ้จิงได้แต่งหนังสือขึ้นสองเล่ม ภิกษุอิ้จิงพักอยู่เป็นเวลาหกเดือน นครโพธิเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาแบบหีนยาน มีมหายานอยู่บ้าง มีทองคำอยู่มาก ภิกษุอจิงจึงเรียกว่า กิมจิว หรือเกาะทอง (สุวรรณประทีป=สุวรรณภูมิ) มีภิกษุอยู่ในเขตนครมากกว่าพันรูป๖ ในเอกสารจีน ปรากฏข้อความที่ท่านอี้จิงเขียนบันทึก กล่าวถึงประเทศ ตู๋เหอปอตี่ ตั้งอยู่ประมาณบริเวณภาคกลางของสยามประเทศสมัยโบราณ อาณา จักรตูเหอนี้เป็นที่เข้าใจกันว่า ทวารวดี๗ กระแสความคิดทางพระพุทธศาสนาไหล่บ่ามาสู่ประเทศไทยและผ่านไปสู่ดินแดน อื่นๆ โดยไม่ขาดตอน มีหลักฐานปรากฏชัดเจนที่เมืองพิมายในยุคประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๐-๑๖๐๐ ในยุคที่พระพุทธศาสนาจะเลือนหายไปจากศูนย์กลางของอินเดียสู่ ดินแดนอื่นนั้น เป็นยุคของพระพุทธศาสนาแบบมหายาน สยามหรือประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาดินแดนที่รับพระพุทธศาสนาต่อจากอินเดีย มีหลักฐานปรากฏหลายแห่ง เช่น เมืองพิมายซึ่งรับพระพุทธศาสนา แบบทวารวดีอยู่ก่อนแล้ว เมืองพิมายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนามหายานซึ่งแพร่หลายสืบทอดอยู่ในบริเวณนี้ พร้อมกันนั้นก็อยู่ในขอบข่ายของการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบทวารวดีด้วย ดังได้มีผู้พบแผ่นหิน สลักพระพุทธรูปประทับนั่งเหนือพระพนัสบดีที่เมืองพิมาย เมืองสำคัญสมัยทวารวดีที่อยู่ในเส้นทางติดต่อกับเมืองพิมายหลายเมือง ปรากฏร่องรอยพุทธศาสนาของสมัยทราวดี และพระพุทธรูปแบบมหายาน ... เช่น เมืองฝ้าย(ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์) มีผู้พบโบราณวัตถุทางพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีปางขัดสมาธิมีนาคปรกและเทวรูปโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน สวยงามมากอีกหลายองค์ ...* (๔) มหาจุฬาฯ กับการศึกษาพระพุทธศาสนา ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวมา ทำให้สืบสาวเส้นทางการสืบสานวิชาการพระพุทธศาสนาจากยุคนาลันทาถึงสยามประเทศได้ระดับหนึ่ง การไหลบ่าแห่งกระแสวัฒนธรรม เชิงพุทธเข้าสู่ประเทศ ไทย แบ่งเป็น ๔ ยุค คือ** ยุคที่ ๑ พระพุทธศาสนาเถรวาทสมัยอโศก พ.ศ. ๒๑๘ ยุคที่ ๒ พระพุทธศาสนามหายาน พ.ศ. ๑๓๐๐ ยุคที่ ๓ พระพุทธศาสนาหีนยานอย่างพุกาม พ.ศ. ๑๖๐๐ ยุคที่ ๔ พระพุทธศาสนาแบบ ลังกาวงศ์ พ.ศ. ๑๘๐๐ ในสมัยสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๐๐) การศึกษาพระพุทธศาสนารุ่งเรืองเช่นกัน หลักฐานที่ชัดเจน คือพระราชนิพนธ์เรื่อง เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง และมีการแบ่งกลุ่มพระสงฆ์เป็น ๒ กลุ่ม ชัดเจน คือกลุ่มคามวาสี พวกที่ศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลี พระไตรปิฎก และกลุ่มอรัญญวาสี พวกที่สมาทานบำเพ็ญจิตภาวนา ในสมัยลานนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๒๐๖๘) มีนักการศึกษาพระพุทธศาสนาหลายท่าน เช่น พระ สิริมังคลาจารย์ พระญาณกิตติ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังสี พระนันทาจารย์ พระสุวรรณรังสี สถานการณ์บ้านเมืองอาจเจริญบ้างเสื่อมบ้างตามเหตุปัจจัย แต่การศึกษาพระพุทธศาสนายังคงได้รับการดูแลสืบทอดต่อกันมาไม่ขาดสาย ผ่านสมัย อยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๑-๒๓๑๐) สมัยธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕) สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๑๐) ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การศึกษาค้นคว้าอยู่ในรูปกิจกรรมการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ และสมัยรัชกาล ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้มีการตั้งสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาเชิงวิชาการขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างแอ่งรองรับกระแสความคิดทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย๘ สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนามหาธาตุวิทยาลัยขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๐ และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระพิมลธรรม (ช้อย านทตฺตเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ได้ประกาศใช้ระเบียบ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๙๐ และจัดการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา แม้จะไม่สามารถจัดการ ศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้โดยตรง แต่การจัดหลักสูตรถือเป็นการวางพื้นฐานในระดับอุดมศึกษาไว้แล้ว พ.ศ. ๒๔๙๓ เปิดดำเนินการศึกษาคณะพุทธศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี หลักสูตร ๔ ปี นับจากนั้นมาถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางพระพุทธศาสนาเรื่อยมา มีการปรับปรุงหลักสูตรหลาย ครั้ง๙ หลักสูตรระดับปริญญาตรีในปัจจุบันปรับปรุงและจัดทำเพิ่มเติมขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๘ เปิดดำเนินการศึกษาใน ๑๒ ภาควิชา ซึ่งทุกภาควิชากำหนดให้นิสิตศึกษาวิชาแกนพระพุทธศาสนา ๕๐ หน่วยกิต อันเป็นภารกิจสำคัญ ในการสืบสานมรดกทาง วิชาการพระพุทธศาสนา ส่วนหลักสูตรระดับปริญญาโท จัดทำขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๓๐ และปรับปรุงใน พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๔๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดทำหลักสูตรระดับปริญญาโทนานาชาติ ๒ สาขา คือ (๑) พระพุทธศาสนา (๒) ปรัชญา และหลักสูตรปริญญาเอก ๒ สาขา คือ (๑) พระพุทธศาสนา (๒) ปรัชญา ซึ่งทั้ง ๒ ระดับจะเปิดดำเนินการศึกษาในปี ๒๕๔๓ ภารกิจในการสืบสานมรดกทางวิชาการพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปัจจุบันถือว่าครบทุกระดับ เพราะได้จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาควบคู่กับวิชาการทางโลกที่จำเป็น ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึง ระดับปริญญาเอก โดยปรัชญาและวัตถุ ประสงค์ของหลักสูตรทุกระดับ มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ มุ่งให้บัณฑิตมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา อุทิศตนเพื่อพระศาสนา เสียสละเพื่อส่วนรวมและมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล