๑.๕ ท่านศีลภัทระ (Silabhadra) เป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของท่านธรรมปาละ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีแห่งนาลันทาต่อจากท่านธรรมปาละ สมณะ เฮี่ยนจั๋งศึกษาปรัชญาโยคาจารกับท่าน ศีลภัทระเป็นเวลา ๕ ปี เป็นคนในตระกูลกษัตริย์แห่งสัมตตะ(Samtata) ผสมกับวรรณะพราหมณ์ ได้รับพระราชทานทุนการศึกษาเพราะโต้วาทีเอาชนะพวกเดียรถีย์ ๑.๖ ท่านคุณมติ(Gunamati) และ ท่านสถิรมติ(Sthiramati) ศิษย์ของท่านวสุพันธุ เป็นเพื่อนรุ่นพี่ของสมณะเฮี่ยนจั๋ง ท่านคุณมติ เป็นชาวอินเดียตอนใต้ เป็นนักโต้วาทีที่มี ชื่อเสียง ต่อมา ทั้งท่านคุณมติและท่าน สถิรมติไปตั้งรกรากที่วัดพัปปาปาทะที่เมืองวลภี ๑.๗ ท่านคุณประภา (Gunaprabha) ศิษย์ของท่านวสุพันธุ เชี่ยวชาญในพระวินัย ของสำนักมูลสรวาทสติวาท สร้างสรรค์ศาสตร์ไว้จำนวนร้อย ปรากฏในภาษาจีน เป็นปราชญ์ฝ่ายมหายานมาก่อน ต่อมาหันมานับถือหีนยาน และเขียนตำราโต้ตอบ มหายาน (๒) นักปราชญ์นานาชาติ นักปราชญ์ชาวต่างประเทศที่เดินทางมาศึกษาที่นาลันทา นอกจากสมณะ เฮี่ยนจั๋ง อี้จิง และฮุยลีแล้ว มีชาวเกาหลี ๒ ท่าน คือ อารยวรมะ (Aryavarma) และ ฮุยเยีย(Hwui Yieh) เดินทางมาประมาณปี พ.ศ. ๑๑๗๓ อารวรมะมรณภาพที่นาลันทา เมื่ออายุ ๗๐ ปี ฮุยเยียมรณภาพที่นาลันทา เช่นกันเมื่ออายุ ๖๐ ปี สมณะอี้จิงบันทึกรายชื่อนักปราชญ์นานาชาติซึ่งเดินทางศึกษาที่นาลันทาและผลงานที่สร้างสรรค์ไว้ ๑๓ ท่านดังต่อไปนี้๒๓ ๒.๑ เตาหิ (Tao Hi-ศรีเทวะ) ศึกษามหายาน สร้างพระสูตรและศาสตร์ภาษาจีนจำนวน ๔๐๐ เล่มไว้ที่นาลันทา ๒.๒ สมณะเฮี่ยนเจา (Hiuen Tchao -ประกาศมติ) ศึกษาที่นาลันทา ๓ ปี โดยศึกษามาธยมิกศาสตร์และศตศาสตร์กับท่านชินประภา และต่อมาศึกษาโยค ศาสตร์กับท่านรัตนสิงหะ ๒.๓ โฟต้ออู ตาม้ออู (Fo-touo-ta -mou-โพธิธรรม หรือพุทธธรรม) ๒.๔ เตาเชง(Tao Cheng, Tao-sing-เตาชิง หรือคันทรเทวะ) เดินทางมาในปี พ.ศ. ๑๑๙๒ เป็นที่เลื่อมใสของราช สำนัก เพราะความโดดเด่นด้านการศึกษา ๒.๕ ถัง หรือประทีป (Tang- ตาเชงเต็ง) ศึกษาสันสกฤตที่ตามรลิปติ ๑๒ ปี และมาศึกษาที่นาลันทาร่วมกับ สมณะอี้จิง ๒.๖ เตาลิน (Tao Lin, Taou Lin -ศีลประภา) ศึกษาที่ตามรลิปติในเบื้องต้น และมาศึกษาโกศะที่นาลันทา ต่อจากนั้นเดินทางไปที่ภูเขาคิชฌกูฏ ๒.๗ ลิงหยุน (Ling Yun-ปรัชญาเทวะ) ศึกษาวิจิตรศิลป์ที่นาลันทา วาดรูปโพธิสัตว์ไมเตรยะและท่านโพธิธรรม ๒.๘ ฮุยต้า (Hwui Ta) เดินทางไปที่มลยะ(Malaya) ผ่านท่าเรือตามรลิปติ เดินทางมาศึกาษาที่นาลันทา ๑๐ ปี ๒.๙ วูกิง (Wou-king) ศึกษาโยคะ โกศะ และวิชาอื่น ๆที่นาลันทา ๒.๑๐ เชฮอง (Tche-hong) เกิดในตระกูลชั้นสูงแห่งเมืองจีน เป็นหลานของทูตวังเฮียนเซ มาศึกษามหายานที่นาลันทา ๒.๑๑ คุฮิง (Qu-hing-ปรัชญาเทวะ ที่ ๑) ศึกษาโยคะ โกศะ และบทบัญญัติแห่งวินัย ต่อจากนั้นปฏิบัติโยคะที่นาลันทา ๒.๑๒ คุกอง (Qu Kong, หรือวูกิง-Wou-king) ศึกษาโยคะ โกศะ และงาน อื่นๆ ที่นาลันทาเป็นเวลา ๓ ปี ๒.๑๓ คิเย (Ki-ye) เดินทางมาศึกษาในปี พ.ศ.๑๕๑๓