บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง ทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท กรณีศึกษานิสิตห้องเรียน วัดไชยชุมพลชนะสงครามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษานิสิตห้องเรียน วัดไชยชุมพลชนะสงครามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กาญจนบุรีและ ๒) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษานิสิตห้องเรียน วัดไชยชุมพลชนะสงครามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิต ห้องเรียน วัดไชยชุมพลนะสงครามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๑๔๕ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม(Questionnaire) เรื่องทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation ) สถิติที่ใช้การทดสอบสมมติฐาน Independent Samples, F-test One-way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง ๓๕ ปี ถึง ๔๔ ปี จำนวน ๕๒ คน คิดเป็น ร้อยละ ๓๕.๗๐ มีอายุระหว่าง ๓๕ - ๔๔ ปี จำนวน ๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ๓๕.๙๐มีระดับชั้น/ปี คือ ชั้นปีที่ ๑ จำนวน ๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๔๙ มีระยะเวลาที่อุปสมบท คือ มากกว่า ๑๐ ปี จำนวน ๗๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๐๐ ส่วนใหญ่มีการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม คือ นักธรรมชั้นเอก จำนวน ๑๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๑๐ และ มีการศึกษาเปรียญธรรมด้านบาลี คือ ป.ธ. ๔ จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๔๐ ป.ธ. ๓จำนวน ๑๓ คน
๒. สรุปผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับทัศนคติต่อความตายพบว่า
พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อความตาย โดยรวมทุกด้านมาก ( = ๓.๕๑) และในแต่ละด้านได้แก่ ด้านความรู้สึก ( = ๓.๖๗) และด้านพฤติกรรม ( =๓.๕๖) อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความรู้คิดอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๓๒)
๓. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนคติพบว่า
พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, ระดับชั้น/ปี ระยะเวลาที่อุปสมบท , การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม, การศึกษาเปรียญธรรมด้านบาลี แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อความตายโดยรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน
๑) ด้านความรู้คิด กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, ระดับชั้น / ปี ระยะเวลาที่อุปสมบท , การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม, การศึกษาเปรียญธรรมด้านบาลี แตกต่างกันมีทัศนคติต่อความตายด้านความรู้คิด ไม่แตกต่างกัน
๒) ด้านความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, ระดับชั้น / ปี , ระยะเวลาที่อุปสมบท , การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม , การศึกษาเปรียญธรรมด้านบาลี แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อความตายด้านความรู้สึก ไม่แตกต่างกัน
๓) ด้านพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, ระดับชั้น / ปี , ระยะเวลาที่อุปสมบท , การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม , การศึกษาเปรียญธรรมด้านบาลี แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อความตายด้านพฤติกรรม ไม่แตกต่างกัน
ดาวน์โหลด |