บทคัดย่อ
การศึกษาความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษา
๑) ระดับการปฏิสัมพันธ์และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒) เปรียบเทียบระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธ-
ศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย จำแนกตามข้อมูลทั่วไป
๓) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิสัมพันธ์ กับระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท ของนิสิตมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๑๘๗ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบ
ถามความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท : กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที Independent Samples t-test การทดสอบ ค่าเอฟ F-test (One-way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Fisher’ Least-Significant (LSD) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (The Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ด้านข้อมูลทั่วไป
พบว่า นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ชั้นปีที่ ๔ ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๘ ส่วนใหญ่มี อายุ ๒๐ ปี ถึง ๓๐ ปี ส่วนใหญ่มีจำนวนปี บรรพชา/อุปสมบท ๑ ปี ถึง ๕ ปี ส่วนใหญ่มี ผลการศึกษา (เกรดเฉลี่ย) อยู่ในช่วง ๒.๕๐ ถึง ๓.๐๐ ส่วนใหญ่เรียนรู้ธรรมจากเอกสารธรรมะ คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๓ และพระไตรปิฎก คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๖ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ การปฏิบัติธรรม ด้วยการเข้าร่วมปฏิบัติธรรมในโอกาสต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๕
๒. ระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา
ระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย มีระดับการปฏิสัมพันธ์ โดยภาพรวม ในระดับมาก ( = ๓.๖๙) และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทโดยรวม ในระดับปานกลาง ( = ๖๓.๘๗)
๓. ความแตกต่างในระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา
ไม่พบความแตกต่างของระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามข้อมูลทั่วไปได้แก่ สถานภาพ อายุ จำนวนปี (บรรพชา/อุปสมบท) และผลการศึกษา ขณะที่พบความแตกต่างในระดับการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามคณะที่สังกัด และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาท ในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท จำแนกตามคณะที่สังกัด ไม่แตกต่างกัน
๔. ความสัมพันธ์ในระดับการปฏิสัมพันธ์ และระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตา
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ระดับการปฏิสัมพันธ์ (x) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ระดับความรู้เกี่ยวกับสุญญตาในพระพุทธศาสนาเถรวาทในบริบทของขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท (y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |