หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวอัจจิตา ใจวารี
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
ผลการใช้โปรแกรมการฝึกจัดการความโกรธตามแนวพุทธวิธี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในกรุงเทพมหานคร
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวอัจจิตา ใจวารี ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร. พธ.บ. (การสอนสังคม), พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ), M.A., Ph.D. (Psy.) พธ.บ.(บริหารการศึกษา), M.A., Ph.D. (Psy.)
  ผศ.สาระ มุขดี กศ.บ. (พยาบาลศึกษา), ศศ.ม. (จิตวิทยาการปรึกษา)
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑.) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกจัดการความโกรธตามแนวพุทธวิธี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กรุงเทพมหานคร ๒.) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างความโกรธของนักเรียน   ที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกจัดการกับความโกรธตามแนวพุทธวิธี ก่อนและหลังการทดลอง

 

ประชากรที่ใช้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กรุงเทพมหานคร ทั้งสิ้นจำนวน ๒๓๑ คน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กรุงเทพมหานครที่มีคะแนนความโกรธสูง จากการตอบแบบทดสอบความโกรธ และสอบถามความสมัครใจในการเข้าร่วมกลุ่มทดลองนี้ จำนวน ๓๐ คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ ๑๕ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น ๒ ส่วนคือเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกจัดการความโกรธตามแนวพุทธวิธี และแบบทดสอบความโกรธ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนาโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติอ้างอิงวิเคราะห์ความแตกต่างความโกรธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Paired Samples Test

 

     ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                  การเปรียบเทียบความโกรธ ในนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง  เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มทดลอง เมื่อเข้าโปรแกรมการฝึกจัดการความโกรธตามแนวพุทธวิธี ๑.) ด้านปฏิกิริยาความโกรธ ๒.) ด้านใช้ความโกรธเป็นเครื่องมือ  ๓.) ด้านควบคุมความโกรธ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

              สำหรับกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

     โปรแกรมการฝึกจัดการความโกรธตามแนวพุทธวิธี มีการออกแบบไว้เหมาะสมสำหรับนักเรียนทั้งส่วนเนื้อหาและในส่วนหลักธรรมคืออริยสัจ ๔  และการใช้โยนิโสมนสิการเพื่อให้เกิดกระบวนการรู้คิด ที่สอดคล้องกันในส่วนของ วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ ระยะเวลา สื่อการเรียนรู้ที่มีความทันสมัย เป็นปัจจุบัน และการดำเนินกิจกรรมเน้นการฝึกปฏิบัติเจริญสติ ในหลายรูปแบบและเพื่อให้สอดคล้องกับจริตตนเอง โดยเฉพาะในการสร้างโปรแกรมนี้มุ่งให้นักเรียนได้มีความรู้ในเบื้องต้นในความโกรธ ด้วยพุทธวิธีอริยสัจ ๔ คือรู้ทุกข์ (ความโกรธ) สมุทัย (สาเหตุความโกรธ) นิโรธ  (เป้าหมายจัดการความโกรธ) และมรรค (การปฏิบัติเพื่อลดละความโกรธ) 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕