หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางเสาวนีย์ ฤดี
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ :กรณีศึกษาผู้ป่วยคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาล ราชวิถี
ชื่อผู้วิจัย : นางเสาวนีย์ ฤดี ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเอกภัทร อภิฉนฺโท, ผศ.ดร., พธ.ม(การสอนสังคม),พธ.ม, (ภาษาอังกฤษ), M.A.(Psy), Ph.D.(Psy).
  ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์, พธ.บ., พม,M.A.(Phi),M.A.(App.Psy.),Ph.D.(Psy.).
  ผศ.สาระ มุขดี, กศ.บ.(พยาบาลศึกษา), M.A.(Counseling Psy.)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับพฤติกรรมและการรู้คิดเกี่ยวกับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้ป่วยคลินิกโรคเบาหวาน  โรงพยาบาลราชวิถี ๒) ศึกษาความแตกต่างในระดับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธของผู้ป่วยคลินิกโรคเบาหวาน  โรงพยาบาลราชวิถี จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และ ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับสุขภาวะองค์รวมด้านต่างๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน ๒๕๒ คน เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ทดสอบค่าที, One-Way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

 

ผลการวิจัย

๑)     ข้อมูลทั่วไป

พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (๖๑.๙%) อายุสูงกว่า ๖๐ ปี (๔๒.๑%) น้ำหนัก ๖๑-๗๐ กิโลกรัม (๓๖.๑%) สูง ๑๕๑-๑๖๐ เซนติเมตร (๕๘.๗%) สมรส (๗๗.๐%) อาชีพธุรกิจ (๔๓.๓%) การศึกษามัธยม / ต่ำกว่า (๗๓.๐%) รายได้ ๕,๐๐๑- ๑๕,๐๐๐ บาท (๔๙.๒%)

ระดับสภาวะการเป็นโรคเบาหวาน พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน๕-๑๐ ปี(๓๖.๕%) เริ่มรับการรักษาตั้งแต่พบว่าเป็นโรคเบาหวาน (๙๗.๒%) ระยะเวลาที่แพทย์นัดมาตรวจ๒ เดือน (๔๐.๙%) ไม่เคยนอนพักรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาล (๗๑.๘%) ควบคุมระดับน้ำตาลโดยยาแพทย์แผนปัจจุบัน (๖๔.๓%) มีอาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (๗๘.๖%) เป็นอาการขั้นไม่รุนแรง (๗๘.๖%)  

๒)   ระดับสภาวะสุขภาวะ

พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างรับรู้สภาวะองค์รวมแนวพุทธโดยรวมทุกด้านและในแต่ละด้านในระดับมาก ( = .๖๐) ซึ่งสามารถจัดลำดับการรับรู้จากมากไปหาน้อย คือ ด้านกาย ด้านจิตใจ ด้านปัญญา และด้านสังคมตามลำดับ ( =๓.๖๘, ๓.๖๗, ๓.๕๒ และ ๓.๕๑)

๓)    ความแตกต่างในระดับสุขภาวะองค์รวม

 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างในเรื่อง เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้  มี/ไม่มีโรคแทรกซ้อน เคยนอนพักรักษาที่โรงพยาบาล ระยะเวลาที่แพทย์นัด วิธีควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดทางการแพทย์ ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยวิธีอื่น มีความแตกต่างในระดับการรับรู้สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธโดยทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในเรื่อง นํ้าหนัก ส่วนสูง สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน เคย/ไม่เคยนอนพักรักษาที่โรงพยาบาล และระดับของอาการแทรกซ้อน ไม่มีความแตกต่างในระดับการรับรู้สภาวะองค์รวม

๔)    ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะด้านต่างๆ

               พบว่า สุขภาวะองค์รวมด้านกายและด้านสังคม ด้านกายและโดยรวมทุกด้าน ด้านสังคมและด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านปัญญา(รู้คิด) ด้านสังคมและโดยรวมทุกด้าน ด้านจิตใจและด้านปัญญา(รู้คิด) ด้านจิตใจและโดยรวมทุกด้าน ด้านปัญญา(รู้คิด)และโดยรวมทุกด้าน   มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ ด้านกายและด้านจิตใจ  มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนด้านกายและด้านปัญญา(รู้คิด) ไม่มีความสัมพันธ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕