หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายบรรณสิทธิ์ บรรณสารประสิทธิ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๐ ครั้ง
ความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน
ชื่อผู้วิจัย : นายบรรณสิทธิ์ บรรณสารประสิทธิ์ ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง), ผศ., ดร. ป.ธ.๙, พธ.บ., ศน.ม., M.Phil., Ph.D.(Buddhist Studies) เดลี
  พลโท ดร.วีระ วงศ์สรรค์ กศ.บ.(เกียรตินิยม)., น.บ., วท.บ., ศศ.บ., ศศ.ม., คม., กศ.ด.
  .
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์เรื่อง ความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ (๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเข้าร่วมโครงการ กับความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ และ(๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สถานปฏิบัติธรรมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และสถานปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดอยุธยา

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สถานปฏิบัติธรรมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และสถานปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดอยุธยา ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๔๗๕ คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๓๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ซึ่งสรุปผลการวิจัย ดังนี้

                    ผลการวิเคราะห์ความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของผู้ผ่านการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน พบว่า อยู่ในระดับมาก

    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเข้าร่วมโครงการ  กับความรู้และความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ของผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน พบว่า เพศ, อายุ, สถานภาพ,  การศึกษา, ถิ่นที่อยู่อาศัย, อาชีพหลัก, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, จุดประสงค์ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสติปัฏฐาน ๔  แต่สำหรับประสบการณ์การปฏิบัติธรรม, เหตุจูงใจที่เข้ามาปฏิบัติ, ระยะเวลาที่เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมนั้น  มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องสติปัฏฐาน ๔ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  และสำหรับ เพศ, อายุ, สถานภาพ, การศึกษา,                  ถิ่นที่อยู่อาศัย, อาชีพหลัก, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม, จุดประสงค์ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ แต่สำหรับเหตุจูงใจที่เข้ามาปฏิบัติ, ระยะเวลาที่เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมนั้น มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

    ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาความรู้และความเข้าใจเรื่อง     สติปัฏฐาน ๔ พบว่า ควรให้ความรู้อย่างง่าย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วยตนเอง และควรฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นต้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕