หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุรชัย สุรชโย (หงษ์ตระกูล)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระสุรชัย สุรชโย (หงษ์ตระกูล) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิน งามประโคน พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                                การวิจัยเรื่องทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา

                                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน จำนวน ๓๓๑ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of  Variance : F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                                . ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน นักเรียนมีทัศนคติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านเนื้อหาของหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านเทคนิคการสอนและด้านการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนด้านที่นักเรียนมีทัศนคติต่ำสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                                . การเปรียบเทียบทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับชั้นเรียนและขนาดของโรงเรียนโดยภาพรวม พบว่านักเรียนมีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า จำแนกตามเพศ ด้านเนื้อหาของหลักสูตรนักเรียนมีทัศนคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ในด้านอื่นๆ นักเรียนมีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

                                ๓. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาคือ

                                     ๑) ด้านเนื้อหาของหลักสูตรในด้านเนื้อหาที่สอนอ่านเข้าใจยาก ควรปรับให้อ่านเข้าใจง่าย                     

                                     ๒) ด้านเทคนิคการสอน รูปแบบการสอนที่ไม่หลากหลาย ปรับใช้วิธีการสอนให้หลากหลายรูปแบบ         

                                     ๓) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดกิจกรรมทางพุทธศาสนาทั้งในและนอกสถานที่ ควรจัดนิทรรศการทางพุทธศาสนาให้มากขึ้น

                                     ๔) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อการสอนที่น่าสนใจ จัดหาสื่อการสอนที่น่าสนใจ                              

                                     ๕) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไม่เอื้อต่อการเรียน จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียน      

                                      ๖) ด้านการวัดผลและประเมินผล ขาดการประเมินผลอย่างต่อเนื่องควรนำผลการประเมินมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕