บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ ๑) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนมทวน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนมทวน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๒๗๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test) และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ระดับความคิดเห็น ของนักเรียน ต่อความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ทั้ง ๖ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรม ด้านการวัดและประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา และ ด้านสื่อการสอน และแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ
๒. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับชั้นเรียน และระดับผลการเรียน พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน
๓ ปัญหาการบริหารงานวิชาการด้านการเรียนการสอนที่นักเรียนเสนอแนะมีดังต่อไปนี้
๑) ด้านหลักสูตร หลักสูตรมีเนื้อหาที่ยากต่อความเข้าใจของนักเรียน และหลักสูตรมีเนื้อหาไม่ทันตามยุคสมัย
๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีการดูแลเอาใจใส่ในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการเรียน นักเรียนจึงไม่ได้รับความสุขในการเรียนเท่าที่ควร
๓)ด้านการจัดกิจกรรม นักเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำกิจกรรมทางศาสนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครู เพื่อน
๔) ด้านสื่อการสอน แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนมีการใช้สื่อการสอน แหล่งเรียนรู้ไม่ทันสมัย นักเรียนจึงพัฒนาตนเองน้อย
๕) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนมีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคของการนิเทศเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจในการเรียน และมีการจัดนิเทศ โดยนักเรียนมีส่วนร่วมน้อย
๖) ด้านการวัดและประเมินผล มีความยุติธรรมน้อย คะแนนจึงไม่เป็นตัวชี้วัดที่แท้จริง นักเรียนมีการนำผลการเรียนไปปรับปรุงพัฒนาการเรียนน้อย
๔. แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านการเรียนการสอนที่นักเรียนเสนอแนะมีดังนี้
๑) ด้านหลักสูตร ควรมีการปรับหลักสูตรให้เข้ากับท้องถิ่นและให้ทันตามสถานการปัจจุบัน มีการปรับหลักสูตรตามความต้องการของนักเรียน
๒) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรมีการจัดหาบุคลากรมาดูแล เอาใจใสในการเรียนสอนให้เพียงพอ มีการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียน มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อนักเรียนจะได้รับความสุขในการเรียน
๓) ด้านการจัดกิจกรรม ควรมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแสดงออกด้านความคิดเห็น กับครูและเพื่อนที่เกิดประโยชน์ ต่อศาสนาและตนเอง
๔) ด้านสื่อการสอน แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนควรจัดหาสื่อการสอน แหล่งเรียนรู้ ให้พอเพียง ครูควรมีการพัฒนาการสอนที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียน
๕) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนควรจะมีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคของการนิเทศ โดยจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วม และมีการจัดเป็นประจำเพื่อช่วยให้เข้าใจในการเรียน
๖) ด้านการวัดและประเมินผล โรงเรียนควรมีการจัดรูปแบบในการวัดผลและประเมินผลตามลักษณะท้องถิ่นให้เป็นแบบมาตรฐาน และเพิ่มแรงจูงใจเพื่อให้นักเรียนมีการนำผลการเรียนไปปรับปรุงพัฒนาการเรียน ในทุกระดับชั้น
ดาวน์โหล |