หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูธัญรัตนากร
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูธัญรัตนากร ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล,ผศ. พธ.บ.,M.A.,M.Ed.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ป.ธ.๔,พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง  ความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์  ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตาม เพศ และระดับชั้นเรียน และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค ความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๖ โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๒๖๕ คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มโดยเทียบตารางกลุ่มตัวอย่างของ R.V.Krejecie D.W. Mogran สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test)  และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้    

๑.  การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี   โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( =๓.๓๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ๑  ด้าน คือ  ด้านความมีน้ำใจ ( =.๖๖) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ๗ ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่  ด้านความซื่อสัตย์ ( =.๔๒) ด้านความขยัน ( =.๓๙) ด้านความมีวินัย  ( =.๒๙) ด้านความสามัคคี ( =.๒๖) ด้านความประหยัด ( =.๒๕) ด้านความสุภาพ ( =.๑๘) และ ด้านความสะอาด ( =.๑๖)  ตามลำดับ

๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า ไม่แตกต่างกัน 

๓. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนธัญรัตน์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามระดับชั้นเรียน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) โดยภาพรวมพบว่า   แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕    ซึ่ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสุภาพ  ด้านความสะอาด  และด้านความสามัคคี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕