หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดบุญยัง ทุลฺลโภ (สุนทรวิภาต)
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๕ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดบุญยัง ทุลฺลโภ (สุนทรวิภาต) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร. สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ปธ.๓, พธ.บ., M.Ed., Ph.D.
  ผศ.ดร. ชาติชาย พิทักษ์ธนาคม ป.ธ.๕,พธ.บ., M.Ed.,M.Phil.,Ph.D.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิน งามประโคน พธ.บ.,M.A.,Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                        การวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์  ๑)เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา                ๒)เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน ๓)เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน ๑๖๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ One-way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๖๐  มีอายุระหว่าง ๔๖ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓๐ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๖๐                  มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ ๖-๑๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๖๐

๒. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยบกับการบริหารงานวิชาการตาม                 หลักอริยสัจ ๔ ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านบริหารหลักสูตร ด้านสื่อ   การเรียนการสอน ด้านห้องสมุด ด้านการวัดผลประเมินผล

๓. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักอริยสัจ ๔ โรงเรียนประถมศึกษาทุกด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน

๔. ปัญหาด้านหลักสูตรขาดการวางแผนที่ดี ด้านสื่อการเรียนการสอนขาดทักษะ      การใช้สื่อที่ทันสมัย ด้านห้องสมุดขาดคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูล และขาดการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจน

                         ๕. แนวทางการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรควรกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจนและประชุมสัมมนาคณะครู ด้านสื่อมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการใช้สื่อที่ทันสมัย ควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับห้องสมุด และมีการติดตามวัดผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕