บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลัก
พรหมวิหาร ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามปัจจัยพื้นฐาน และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนา
ภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษา
จำนวน ๑๔๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล
โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One.- Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๕๙.๒ ส่วนมากมีอายุระหว่าง ๔๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๔๐.๑๐ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ ๗๑.๘ มีตำแหน่งหน้าที่ ร้อยละ ๙๕.๑ มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า ๑๐ ปี ร้อยละ ๔๒.๓
๒. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษา
ตามหลักพรหมวิหาร ๔ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับมากไปหาน้อย ดังนี้
ด้านมุทิตา คือ ผู้บริหารพลอยยินดีเมื่อเพื่อนร่วมงานได้รับตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างจริงใจ และแสดงความเป็นภาวะผู้นำเมื่อเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จ ด้านอุเบกขา ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ
ด้านความอดทนต่อการปฏิบัติงานที่ยากและท้าทาย พร้อมยอมรับการประเมินผล ด้านเมตตา ผู้บริหารได้มอบหมายงานอื่นๆ นอกเหนือจากงานประจำให้ตรงกับความรู้ความสามารถและผู้บริหารมีความโปร่งใส ด้านกรุณา ผู้บริหารจัดสวัสดิการภายในสถานศึกษาเพื่อบรรเทาความทุกข์ เมื่อทนผู้ใต้บังคับบัญชา และมีระบบงานที่ไม่เบียดเบียนผู้ร่วมงาน
๓. ข้อเสนอแนะ ๑) ด้านเมตตานั้น ผู้บริหารควรให้ความยุติธรรมเท่าเทียมกัน
ในการทำงาน ช่วยเหลือด้านกำลังทรัพย์ ใช้งานให้ถูกกับบุคคลที่มีความสามารถกับงาน
๒) ด้านกรุณา ผู้บริหารควรให้การช่วยเหลือตอบแทนต้องบริสุทธิ์ยุติธรรม เสมอ เท่าเทียมกัน ผู้บริหารต้องรับทราบปัญหาของบุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้ความช่วยเหลือ ๓) ด้านมุทิตา ผู้บริหารควรพลอยยินดีเมื่อบุคลากรมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ และมีความยุติธรรมในการบริหารงานโรงเรียน และ ๔) ด้านอุเบกขา ผู้บริหารต้องมีใจเป็นกลางในการทำงานหน้าที่ มอบหมายงานให้กับบุคคลที่มีความสามารถและเหมาะสมกับงาน
ดาวน์โหลด |