หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูรัตนภัทรคุณ (สุรพล อติภทฺโท)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๗ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระครูรัตนภัทรคุณ (สุรพล อติภทฺโท) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์ ดร.พิเชฐ ทั่งโต พ.ม.ช., พธ.บ., M.A., Ph.D. (Public. Admint.)
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A.(Soc.),Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และแนวทาง พัฒนาบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครู และนักเรียน สังกัดโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนบัวแก้วเกษร โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา โรงเรียนเมตตาประชาสรรค์ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๔๑๒ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๘๑๕๒ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาค่าที (t-test)

 

ผลการวิจัย พบว่า

    ๑. ความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวมครู เป็นเพศหญิงมากที่สุด จำนวน ๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๒.๗ และอยู่ในสังกัดโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมากที่สุด จำนวน  ๓๔ คน  คิดเป็นร้อยละ ๒๗

สำหรับนักเรียน เป็นเพศหญิงมากที่สุด จำนวน ๑๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘ และอยู่ในสังกัดโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยวิทยามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๒

            ๒. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่า ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ด้านการเตรียมการสอน, ด้านการดำเนินการสอน และด้านการวัดผลและการประเมินผลการเรียนไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี คือ ความอิสระในการปฏิบัติงานนั้น ถูกจำกัดเวลามากเกินไป ส่วนนโยบายและการบริหารนั้น ผู้บริหารการศึกษาขาดการสนับสนุน ด้านการยอมรับนับถือ จึงไม่มีการยอมรับอย่างแท้จริงและขาดการประสานงานระหว่างผู้บริหาร คณะครูอาจารย์และนักเรียนไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ และขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ครูและพระสงฆ์ขาดการแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอน การผลิตสื่อ ซึ่งพระสอนศีลธรรมมีความตั้งใจอย่างมาก แต่นักเรียนไม่เห็นความสำคัญเท่าที่ควร และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ขาดการวางแผนการเรียนการสอน การจัดตารางเรียนและการประเมินผล

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕