บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่ต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล และ (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่างพุทธศาสนิกชนทั้งหมด ๓๘๔ คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t–test)สำหรับตัวแปรที่มี ๒ ค่า และทดสอบค่าเอฟ (F-test) หรือความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) สำหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างหลายคู่ โดยวิธีหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า พุทธศาสนิกชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ ในภาพรวมอยู่ระดับมากมีค่าเฉลี่ย ( = ๓.๕๐)
๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่มีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีเพศและวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนพุทธศาสนิกชนที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ด้านสังคม พระสงฆ์ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่พระสงฆ์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในหลาย ๆ ด้าน ดังเช่น ด้านเศรษฐกิจ คือ ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรของคณะสงฆ์เอง รวมทั้งจากหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันด้วย ด้านวัฒนธรรม ประชาชนไม่มีความเข้าใจในการที่พระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านวัฒนธรรม เช่น การอนุรักษ์โบราณสถานเป็นต้น ด้านสาธารณสุข ขาดการสนับสนุนและติดต่อประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์เพราะได้รับความร่วมมือน้อยหรือไม่ได้รับความร่วมมือเลย หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยจึงขาดอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือ หรือพัฒนาชุมชนในด้านสาธารณสุข ประการสุดท้ายใน ด้านสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ในการให้ความสะดวกแก่พระสงฆ์ในการอบรมหรือในการช่วยเหลือพัฒนาชุมชนมีน้อย ดังนั้น พระสงฆ์ต้องแสดงศักยภาพในฐานะผู้นำชุมชนเข้าไปมีบทบาทและสงเคราะห์ประชาชนจนเป็นที่ยอมรับของบุคคลโดยทั่วไป
ดาวน์โหลด |