บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “สภาพปัญหาด้านการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒” มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ (๒) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาด้านการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ ดำเนินการวิจัย โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ พระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ จำนวน ๑๒๖ รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑. พระสอนศีลธรรมที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ ๓๑-๔๐ ปี มีจำนวน ๓๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๕๐ มีพรรษา ๑๑-๑๕ พรรษา มีจำนวน ๓๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๔๐ ระดับการศึกษาแผนกบาลีและนักธรรม จำนวน ๘๘ รูป คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๗๐ มีระดับการศึกษาแผนกสามัญ ปริญญาตรี จำนวน ๖๒ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๒๐ มีระดับการศึกษาที่สอนประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ จำนวน ๑๐๓ รูป คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๗๐ และมีประสบการณ์ที่สอน ๑–๕ ปี จำนวน ๖๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๔๐
๒. พระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาด้านการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า มีความคิดเห็นในระดับมากคือ ด้านการวัดผลประเมินผล ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการสอนของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต ๒ พบว่า ด้านเนื้อหาและหลักสูตร คือ ขาดความรู้ในการเขียนแผนการจัดการการเรียนรู้ ด้านการผลิตและการการใช้สื่อ คือ ไม่มีความรู้ ความสามารถในการผลิตสื่อประกอบการสอน ด้านการดำเนินการสอนคือ ไม่มีครูช่วยควบคุมชั้นเรียน ทำให้ควบคุมนักเรียนได้ไม่ดี และด้านการวัดผลประเมินผลคือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามสภาพจริง
ดาวน์โหลด |