บทคัดย่อ
จากการวิจัยเรื่อง บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ๓) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๓๗๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสตามความคิดของพุทธศาสนิกชน ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม พบว่ามีบทบาทอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่า มีการบริหารอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (๑) ด้านสาธารณะสงเคราะห์ (๒) ด้านการปกครอง (๓) ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (๔) ด้านการ ศาสนศึกษา (๕) ด้านสาธารณูปการ (๖) ด้านการศึกษาสงเคราะห์
๒) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดของพุทธศาสนิกชน จำแนกตามเพศ ระหว่างชายและหญิง โดยการทดสอบค่าที (t-test) โดยภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาส ในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดของพุทธศาสนิกชน จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance: ANOVA) พบว่า พุทธศาสนิกชนที่มีอายุ มีระดับการศึกษา และมีอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสในอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่แตกต่างกัน
๓) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า
(๑) องค์กรสงฆ์ควรมีการบัญญัติกฎระเบียบ หรือวินัยสงฆ์ให้ครอบคลุมกับยุคสมัย และควรกำหนดบทลงโทษที่เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการป้องปรามการทำความผิดของพระสงฆ์ และเป็นการรักษาศรัทธาของพุทธศาสนิกชนไว้
(๒) ควรมีการประชุมปรึกษาหารือกับหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสงฆ์ในการปรับปรุงหลักสูตรให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน
(๓) ควรมีการจัดทำโครงการหรือหนังสือถวายความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคที่ถูกต้องแก่พระสงฆ์ในการบริจาคแก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในต่างจังหวัดหรือนอกเมือง
(๔)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควรมีการจัดการฝึกอบรมพระสงฆ์นักเผยแผ่รุ่นใหม่ๆ ให้มีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
(๕) ควรมีการออกกฎระเบียบในการควบคุมการเรี่ยวไรเงินบริจาคของพระสงฆ์ในแต่ละวัด เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาของพุทธศาสนิกชน และ
(๖) วัดควรมีการอนุญาตหรือจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือชุมชนภายในวัด เช่น ศูนย์บำบัดผู้ติดยา ศูนย์ฝึกอาชีพ ศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นต้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนด้านสาธารณะสงเคราะห์อย่างเต็มที่
ดาวน์โหลด |