หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมใจ ธนิสฺสโร (ประเสริฐนุช)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมใจ ธนิสฺสโร (ประเสริฐนุช) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A.(Soc.),Ph.D.
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผศ., ป.ธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม. (พัฒนาสังคม),รป. ม. (การจัดการความขัดแย้ง)
  รศ.ดร.สมาน งามสนิท B.A., M.A., พบ.ด.(การบริหารการพัฒนา)
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

 

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณรที่เป็นนักเรียนปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีต่อการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ  พระภิกษุสามเณรที่เป็นนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จำนวน ๑๐๙ รูป โดยใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .๙๔๘ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้การทดสอบค่าเอฟ (f-test) คือ การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

             

 

ผลการวิจัยพบว่า    

             ๑. ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๐) และเมื่อพิจารณาเป็น        รายด้านแล้วพบว่าความคิดเห็นของนักเรียนปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีต่อการดำเนินงานด้านหลักสูตรและด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านสภาพแวดล้อมของวัดและด้านผู้เรียนอยู่ในระดับมาก

                  ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีต่อปัจจัยในการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตาม   ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระภิกษุสามเณรที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม(นักธรรม) วุฒิการศึกษาปริยัติธรรม (เปรียญธรรม)และระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี          ไม่แตกต่างกัน

    ๓. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรเพิ่มการสนับสนุนค่าพาหนะเพื่อการเดินทางไปเรียนและจัดให้ห้องพักมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ๒) ด้านหลักสูตร ปัญหา ได้แก่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยและสื่อการเรียนการสอนไม่มีความหลากหลาย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ จัดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้นและสร้างสื่อการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ๓) ด้านผู้เรียน ปัญหา ได้แก่ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้น้อยและมีการขาดเรียนบ่อยๆ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันมากขึ้น และพยายามไม่ขาดเรียนถ้าไม่มีกิจธุระจำเป็น ๔) ด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ปัญหา ได้แก่ เทคนิคการสอนของครูยังไม่มีความหลากหลายและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองน้อย ข้อเสนอแนะ ได้แก่ จัดฝึกอบรมครูให้มีเทคนิคการสอนที่มีความหลากหลายและจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕