หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระใบฎีกาวีรศักดิ์ ธีรปญฺโญ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๓ ครั้ง
ศึกษาประเพณีความเชื่อการอุ้มพระดำน้ำของชุมชนวัดไตรภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระใบฎีกาวีรศักดิ์ ธีรปญฺโญ ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๑/๒๐๒๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาประมวล ฐานทตฺโต
  ดร.ประยูร แสงใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

การศึกษาประเพณีความเชื่อการอุ้มพระดำน้ำ ของชุมชนวัดไตรภูมิ อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบูรณ์   มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ  (๑)  เพื่อศึกษาประเพณีความเชื่อตำนานอุ้มพระดำน้ำของชุมชนชาวพุทธวัดไตรภูมิ  จังหวัดเพชรบูรณ์  (๒) เพื่อศึกษาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ของชาวพุทธวัดไตรภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์  (๓)  เพื่อศึกษาคุณค่าของประเพณีการอุ้มพระดำน้ำที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชนชาวพุทธชุมชนวัดไตรภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีวิเคราะห์ เชิงพรรณนา เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ และสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำผลวิเคราะห์มาประกอบวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์

                      ผลการวิจัยภาคเอกสาร  พบว่า ประเพณีความเชื่อตำนานอุ้มพระดำน้ำของชุมชนวัดไตรภูมินั้นมีมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ล้วนเกิดจากความมีศรัทธาเป็นเบื้องต้น จึงทำให้เกิดพิธีกรรมได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพบุรุษเป็นมรดกตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง

ผลการวิจัยภาคสนาม  พบว่า ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประชาชนจังหวัดเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่าพระพุทธมหาธรรมราชาเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์  ผู้ที่มีพระพุทธมหาธรรมราชาไว้สักการบูชาสามารถดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัย และเป็นสิริมงคลต่อตัวเอง  พิธีกรรมที่จัดในประเพณีอุ้มพระดำน้ำ คือ การบวงสรวง การแข่งขันเรือยาว ทำให้ เกิดคุณค่าด้านสุนทรียรสและด้านจิตใจรวมถึงสร้างความรักสามัคคีแก่ประชาชนในชุมชนวัดไตรภูมิรวมถึงชาวจังหวัดชาวเพชรบูรณ์  ในด้านเศรษฐกิจจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวมีประชาชนทั้งจังหวัดต่าง ๆ และในจังหวัดเพชรบูรณ์เข้าร่วมชมประเพณีทำให้เกิดรายได้แก่ชาวเพชรบูรณ์ในแต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าว ได้สืบทอดกันจนมานานกลายเป็นประเพณีที่จะต้องปฏิบัติทุกปีในวันแรม  ๑๕  ค่ำ เดือน  ๑๐  แต่ในปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย  เช่น มีอบายมุขในรูปแบบต่าง ๆ  เช่นการพนันและดื่มสุราและเมรัย ทำให้คุณค่าศีลธรรมเสื่อมลง

 ไม่มีข้อมูลให้ดาวน์โหลด
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕