หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิจิตธรรมนนท์ (ฮงทอง)
 
เข้าชม : ๒๑๐๘๓ ครั้ง
การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิจิตธรรมนนท์ (ฮงทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์, ดร.
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชื่น ศรีสวัสดิ์
  ดร.สมชาย ฐานเจริญ
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์๓ประการคือ๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนในเขตตำบลบก  อำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษที่มีเพศ  อายุ  การศึกษา  และอาชีพต่างกัน๒. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนในเขตตำบลบก  อำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษ  ที่มีเพศ  อายุ  การศึกษา  และอาชีพต่างกัน ๓.  เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนในเขตตำบลบก  อำเภอโนนคูณ  จังหวัดศรีสะเกษ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างคือประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลบกจำนวน ๕๕๐ คน  และประชากรกลุ่มตัวอย่าง ๒๒๖ คนซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgane) โดยวิธีการสุ่มแบบง่ายมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี๒ประเภทได้แก่สถิติเชิงพรรณนาคือการทศสอบค่าที่ (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดี่ยว (One – Way ANOVA or F-test)

 

        ผลการวิจัยพบว่า

                        ) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษโดยรวมอยู่ในระดับมากมีรายละเอียดดังนี้  ๑) ด้านการดำเนินชีวิตพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนมีการแสวงหารายได้โดยวิธีไม่ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม ให้ประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เปิดโอกาส ในการพัฒนาชีวิตของตนให้เจริญงอกงามขึ้นในด้านพฤติกรรมด้านจิตใจและด้านปัญญาตลอดถึงไม่กระทำผิดจารีตประเพณีที่วิญญูชนสรรเสริญ๒) ด้านการประกอบอาชีพ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนยินดีในการเลี้ยงชีพชอบ ครองชีวิตชอบ คือไม่ให้การเลี้ยงชีพของตนทำให้คนอื่นและตนเองเดือดร้อน ครองชีพอย่างเรียบง่ายตามความจำเป็นแห่งธรรมชาติและสังคม เลือกประกอบอาชีพสุจริตเพื่อการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ๓) ด้านการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ทั้งนี้เป็นเพราะประชาชนยินดีในสิ่งทั้งหลายที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีพที่จะนำมาซึ่งความสุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นและส่งเสริมกุศลธรรมให้เจริญก้าวหน้าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นเครื่องกระตุ้นดึงดูดสนับสนุนให้บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติประกอบอาชีพเกิดแรงจูงใจที่ดีเพราะมีเป้าหมายที่ดีก็ยิ่งมีความอยากที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าสู่เป้าหมายอันเป็นคุณค่าที่แท้จริงต่อไป

                        ) ทัศนะคติผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษที่มีเพศอายุการศึกษาและของอาชีพแตกต่างกันพบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันมีรายละเอียดดังนี้   ๑) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศต่างกัน  มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษด้านการประกอบอาชีพ  โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน  ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้๒) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี  อายุ  โดยภาพรวมแตกต่างกัน  มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษภาพรวมทั้ง ๓ ด้าน  ไม่แตกต่างกัน  ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้๓) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี  การศึกษา  แตกต่างกัน  มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษภาพรวมทั้ง ๓ ด้าน  ไม่แตกต่างกัน  ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้๔) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี  อาชีพ  แตกต่างกัน  มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษโดยภาพรวมทั้ง ๓ ด้าน ไม่แตกต่างกัน  ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

                ) ประชาชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษได้เสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในสังคมตามหลักสัมมาอาชีวะของชุมชนเขตตำบลบก อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษสามารถแยกออกเป็นด้านมีรายละเอียดดังต่อไปนี้คือ๑) ด้านการดำเนินชีวิตคือ  ประชาชนควรให้ความสำคัญเห็นประโยชน์ในความรู้สมัยใหม่กับความชื่นชมในภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมอย่างเหมาะสม  ๒) ด้านการประกอบอาชีพ  คือ  ประชาชนควรงดประกอบอาชีพที่เป็นต้นเหตุของอบายมุข   ๓) ด้านการประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน  คือ  ประชาชนควรอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕