วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และวิชาโหราศาสตร์ไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพยากรณ์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาหลักการพยากรณ์ที่ปรากฏในตาราโหราศาสตร์ไทย และ (๓) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และวิชาโหราศาสตร์ไทย จากการวิจัยพบว่า การพยากรณ์เป็นศาสตร์ที่อยู่คู่กับสังคมโลกมานาน ในสมัยก่อนพุทธกาล และในสมัยพุทธกาลนั้น อิทธิพลของศาสนา ฮินดู-พราหมณ์ ค่อนข้างสูงมากในประเทศอินเดีย อันเป็นแหล่งกาเนิดของพระพุทธศาสนา การพยากรณ์ จึงเป็นความรู้ของพวกพราหมณ์ ตามคัมภีร์พระเวท โดยมากพราหมณ์จะเป็นผู้พยากรณ์ ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทหลายตอน เช่น พราหมณ์ ๘ คน ให้การทานายเจ้าชายสิทธัตถะ ส่วนการพยากรณ์โดยพระพุทธองค์นั้นเป็นพระญาณบารมีเฉพาะพระองค์ ไม่มีหลักการ และไม่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาทางโหราศาสตร์แต่อย่างใด วิชาโหราศาสตร์ไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีหลักการและทฤษฎีเป็นของตนเอง ในเรื่องของการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคต และเจตจานงของบุคคล ในสังคมปัจจุบัน โหราศาสตร์มีอิทธิพลค่อนข้างกว้างขวางในทุกวงการ
ความสอดคล้อง หลายประการระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาท และโหราศาสตร์ไทย คือ ความสอดคล้อง ในด้านความเชื่อ, ด้านคุณธรรม, ด้านจรรยาบรรณ และ ด้านการพยากรณ์ มีหลักคาสอน ในทางพระพุทธศาสนาที่ อธิบายในทางโหราศาสตร์ได้ เช่น เรื่องของ ธาตุ ๔, กรรม
และวัฏฏะของชีวิต ผลสรุปของการศึกษาคือ โหราศาสตร์ไม่สามารถบอกความจริงทั้งหมดของชีวิตได้ เนื่องจากมนุษย์มีเสรีภาพในการเลือกที่จะกระทา ประโยชน์ของวิชาโหราศาสตร์ที่แท้จริง คือการทาให้มีความเข้าใจในศักยภาพ ของตนเองและผู้อื่น จะทาให้การอยู่กับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เป็นการช่วยให้คาปรึกษาและช่วยให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะกฎแห่งกรรม
Download |