หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์สายัณ จนฺทวณฺโณ (หม้อกรอง)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์จาคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒๕๕๔)
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์สายัณ จนฺทวณฺโณ (หม้อกรอง) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๗/๒๐๑๒
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีธรรมาลังการ, ผศ.ดร.
  ดร.วิกานดา ใหม่เฟย
  ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ
วันสำเร็จการศึกษา : 2554
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ลักษณะ ประเภท ระดับของจาคะ, หลักธรรมที่ส่งเสริมจาคะ และเป็นปฏิปักษ์ต่อจาคะ, วิเคราะห์ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้จาคะตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท

       ผลการวิจัยพบว่า จาคะ หมายถึง การสละ หรือการบริจาค แบ่งปันความสุขให้แก่กันลักษณะของจาคะนั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ สละวัตถุเป็นลักษณะรูปธรรม เป็นการสละทรัพย์ภายนอก  เช่น เงิน ทอง  สิ่งของ   และสละอารมณ์เป็นลักษณะนามธรรม เป็นการสละทรัพย์ภายใน เช่น  ความรักความปรารถนา ความหวังดี และกิเลส  จาคะมี ๕ ประเภท คือ การสละทรัพย์        บุตรธิดา ภรรยา อวัยวะ และชีวิต  เป็นทานแก่ผู้อื่น  จาคะอยู่ในระดับของบารมี มี ๓ ระดับ คือ ระดับบารมี ระดับอุปบารมี และระดับปรมัตถบารมี

        หลักธรรมที่ส่งเสริมจาคะ คือ อโลภะ ความไม่โลภ, อโทสะ ความไม่ประทุษร้าย,  อโมหะ ความไม่หลง, ศีล การสำรวมกาย วาจา, สัทธา ความเชื่อ, อุปสมะ ความรู้จักสงบใจ, เมตตา  ความรัก, กรุณา  ความสงสาร, มุทิตา  ความพลอยยินดี ส่วนหลักธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับจาคะ คือ มัจฉริยะ ความตระหนี่, โลภะ ความโลภ, โทสะ ความประทุษร้าย โมหะ ความหลง   

                ประโยชน์ และการประยุกต์ใช้จาคะ สามารถนำไปปฏิบัติต่อตนเอง และผู้อื่นที่อยู่รวมกันในสังคมอย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดในด้านของบุคคล ครอบครัว สังคม และสถาบันต่าง ๆ ให้มีอนุเคราะห์เกื้อกูลกันในสังคม จาคะเมื่อนำมาประยุกต์ใช้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น ผู้นำที่ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อจาคะจะช่วยพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้มีความ เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปได้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕